ระบบการเล่น(Gameplay) ของ ไฟร์เอมเบลม

รูปแบบการเล่นในฉากจริงจากภาค Fire Emblem: Thracia 776

พื้นฐาน(Basic)

เกมในชุดไฟร์เอมเบลมเป็นเกมแนวผลัดกันเดินกลยุทธ(turn-based tactics) ที่มีจุดมุ่งหมายในการเคลื่อนตัวละครไปในแผนที่ตามตาราง เพื่อเอาชนะฝั่งตรงข้าม ผู้เล่นใช้การเคลื่อนที่เชิงยุทธศาสตร์ และการวางตำแหน่งเพื่อบรรลุเป้าหมายในแต่ละฉาก ได้แก่ ยึดฐาน(seizing a base)[7], อยู่รอดตามจำนวนรอบที่กำหนด(surviving for a number of turns), หรือเอาชนะหัวหน้าฉาก(defeating a boss) ส่วนประกอบพื้นฐานหลายส่วนของแนวเกมสวมบทบาท(role-playing game) สามารถพบได้ในเกม ยกตัวอย่างเช่น การขั้นระหว่างฉากด้วย ฉากขั้น(cut scene) เพื่อใช้ในการดำเนินเรื่อง ตัวละครมีการเก็บเกี่ยวค่าประสบการณ์และแข็งแกร่งขึ้นตามการเล่น ผู้เล่นสามารถเข้าไปยังร้านเพื่อซื้ออาวุธ และเครื่องมือต่างๆให้ตัวละคร[8] ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละภาคว่า จะสามารถซื้อได้ในระหว่างฉาก หรือว่าซื้อได้ในฉากต่อสู้


รูปแบบระบบการต่อสู้ของเกมนั้นมีพื้นฐานจากหลักการ ค้อน-กรรไกร-กระดาษ โดยที่อาวุธแต่ละชนิดจะมีความได้เปรียบ และเสียเปรียบอาวุธชนิดอื่น ตั้งแต่ในภาคที่สี่ ไฟร์เอมเบลม:Seisen no Keifu, ความสัมพันธ์สามเส้าของอาวุธ(weapon triangle) อยู่ในรูปแบบของ ทวน(lance)ชนะดาบ(sword), ดาบชนะขวาน(axe), และ ขวานชนะทวน[9] ส่วนธนูนั้นไม่อยู่ในความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยสามารถโจมตีจากระยะไกล และสร้างความเสียหายอย่างมากเมื่อใช้โจมตีตัวละครที่บินได้ เช่น เปกาซัส(Pegasus) แต่ธนูก็มีจุดด้อยที่ไม่สามารถตอบโต้การโจมตีระยะประชิดได้ สำหรับในเวทมนตร์นั้นก็มีความสัมพันธ์สามเส้าเช่นเดียวกับอาวุธ ซึ่งรายละเอียดจะแตกต่างกันไปในแต่ละภาค โดยในไฟร์เอมเบลมทุกภาคที่ลงในเกมบอยแอดวานซ์ เวทย์แสงสว่าง(light)ชนะเวทย์ความมืด(dark), เวทย์ความมืด(dark)ชนะเวทย์ธรรมชาติ(anima), และ เวทย์ธรรมชาติชนะเวทย์แสงสว่าง[10] ในภาคอื่น เวทย์ไฟ(fire)ชนะเวทย์ลม(wind), เวทย์ลมชนะเวทย์สายฟ้า(thunder), และเวทย์สายฟ้าชนะเวทย์ไฟ ความพิเศษของเวทมนตร์ก็คือนอกจากใช้โจมตีจากระยะไกลได้แล้ว ยังสามารถใช้โจมตีระยะประชิดได้อีกด้วย


ข้อแตกต่างที่พบได้จากเกมชุดนี้ ที่แตกต่างจากเกมอื่นๆในแนวเดียวกันก็คือ อาวุธโดยส่วนใหญ่ในเกมชุดไฟร์เอมเบลมมีจำนวนครั้งในการใช้งานจำกัด และสามารถพังได้ ดังนั้นบ่อยครั้งที่ผู้เล่นต้องซื้ออาวุธเพื่อผัดเปลี่ยน หรือเสียเงินซ่อมอาวุธที่เสียหาย[7] ปกติมักพบว่าอาวุธที่มีอานุภาพด้อยกว่า จะสามารถใช้งานได้มากครั้งกว่าอาวุธที่มีอานุภาพมากกว่า

ตัวละคร(Unit)

แตกต่างจากเกม Advance Wars และเกมแท็กติกสวมบทบาทเกมอื่นเช่น Final Fantasy tactics ที่เกมในชุดนี้ไม่มีอนุญาตให้ผู้เล่นสร้างตัวละครของตนเอง แต่ไฟร์เอมเบลมอาศัยการจัดวางตัวละครที่มีความแตกต่างหลากหลาย แต่ละตัวละครอาจมีอาชีพหนึ่งอาชีพใดจากหลากหลายอาชีพในเกม มีบุคลิก และอดีตเฉพาะตัวของแต่ละตัวละคร[2] สำหรับขนาดกลุ่มของตัวละครนั้น ผู้เล่นจะเริ่มจากกลุ่มตัวละครที่มีขนาดเล็กในช่วงเริ่มเกม และจะค่อยๆเพิ่มจำนวนขึ้น จากตัวละครที่เข้าร่วมกลุ่มเพิ่มเติม ไม่ว่าจากเหตุการณ์ในเนื้อเรื่อง หรือผลสืบเนื่องจากการกระทำบางอย่างของกลุ่ม ในเกมภาคหลังๆนั้น อาจมีตัวละครที่เล่นได้ตั้งแต่ระดับสามสิบตัวละคร ไปจนถึงเจ็ดสิบตัวละครได้เลยทีเดียว[11]


การใช้ตัวละครในการต่อสู้ทำให้ตัวละครได้รับค่าประสบการณ์ เลเวล(level)ของตัวละครจะเพิ่มขึ้นหลังจากมีค่าประสบการณ์ครบ 100% การเพิ่มเลเวลของตัวละครในกลุ่มถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เนื่องจากตัวละครที่เพิ่มเข้ามาใหม่นั้น หลายตัวมีเลเวลตัวละคร และค่าสถานะ(statistics)ที่ดีกว่า[12] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากค่าประสบการณ์ที่ได้จากการชนะศัตรูนั้น คิดจากความแตกต่างระหว่างเลเวลของตัวละคร กับ เลเวลของศัตรู ส่งผลให้ตัวละครที่มีระดับเลเวลต่ำกว่าจะได้รับค่าประสบการณ์ มากกว่าตัวละครที่เลเวลสูงกว่า เมื่อเทียบโดยการโจมตีศัตรูตัวเดียวกัน นอกจากเลเวล และค่าสถานะแล้ว ตัวละครยังมีค่าระดับอาวุธ(weapon level)สำหรับอาวุธแต่ละประเภทที่ใช้ได้ ซึ่งค่านี้จะไล่ตั้งแต่ระดับ E(ระดับต่ำสุด) ไปจนถึง S(ระดับสูงสุด) แต่ในภาค Radiant Dawn นั้นสามารถเพิ่มระดับอาวุธได้ถึงระดับ SS ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่า S หนึ่งระดับ[13] ค่าระดับอาวุธนี้จะเป็นตัวกำหนดระดับอาวุธที่ตัวละครนั้นนั้นใช้ได้ เนื่องจากตัวละครจะใช้อาวุธระดับที่เทียบเท่า หรือต่ำกว่าระดับอาวุธของตัวละครเท่านั้น สำหรับการเลื่อนระดับอาวุธของตัวละครนั้น ทำได้โดยการใช้อาวุธประเภทนั้นซ้ำๆ


เมื่อตัวละครมีเลเวลสูงถึงระดับหนึ่ง ตัวละครนั้นอาจสามารถเปลี่ยนเป็นอาชีพที่แข็งแกร่งขึ้น ซึ่งขั้นตอนนี้เรียกว่า การเปลี่ยนอาชีพ(promotion) ซึ่งรายละเอียดนั้นขึ้นกับระบบของแต่ละภาค บางภาคตัวละครจะเลื่อนขั้นเมื่อมีเลเวลถึงระดับหนึ่ง[2] บางภาคอาจต้องอาศัยไอเทมพิเศษในการเปลี่ยนอาชีพ สำหรับตัวละครหลักนั้นจะเปลี่ยนอาชีพ เมื่อถึงเหตุการณ์พิเศษที่กำหนดในเนื้อเรื่อง เมื่อเปลี่ยนอาชีพแล้ว ตัวละครจะได้รับค่าสถานะพิเศษเพิ่ม ซึ่งมากกว่าที่ได้จากการเพิ่มเลเวลตัวละคร และ ได้รับความสามารถเพิ่มเติม ที่เป็นความสามารถของแต่ละอาชีพที่เปลี่ยนไปเป็นด้วย

ความสัมพันธ์(Supports)

ความรัก และ มิตรภาพ เป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปในเนื้อเรื่องหลักของเกมชุดไฟร์เอมเบลม ตั้งแต่ภาคที่หก, Fūin no Tsurugi, ได้มีการเพิ่มความสำคัญของเนื้อหาของบทสนทนา(support conversation) ในเกมภาคที่ลงในเกมบอยแอดวานซ์ บทสนทนาเหล่านี้จะปรากฏเฉพาะกับคู่ตัวละคร ที่จบรอบการเดินโดยการยืนอยู่ข้างๆกันตามจำนวนรอบที่กำหนด หลังจากนั้นผู้เล่นจะมีตัวเลือก เพื่อดูบทสนทนาระหว่างตัวละครทั้งสองตัว ซึ่งบทสนทนาเหล่านี้ในแต่ละคู่จะมีทั้งหมดเพียงสามชุดเท่านั้น สำหรับในภาค Patch of Radiance มีการเปลี่ยนแปลงระบบใหม่ โดยตัวละครไม่จำเป็นต้องยืนติดกันหลังจบรอบการเดินอีกต่อไป เพียงแค่ร่วมต่อสู้ในฉากเดียวกันตามจำนวนฉากที่กำหนดเท่านั้น และในภาค Radiant Dawn ได้เปลี่ยนระบบอีกครั้ง ด้วยการเพิ่มโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร ทำให้สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครคู่ไหนก็ได้ รวมทั้งสามารถล้างความสัมพันธ์ที่ไม่ต้องการแล้วได้อีกด้วย


ตัวละครที่มีความสัมพันธ์กับตัวละครอีกตัว จะได้รับค่าสถานะพิเศษเพิ่มต่างหาก ซึ่งค่าที่ได้จะขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ และ ธาตุของตัวละคร(character's element affinity)ทั้งคู่ โดยตัวละครทั้งคู่ จะได้รับค่าสถานะพิเศษนี้ ทุกครั้งที่ตัวละครทั้งคู่ยืนอยู่ห่างกันไม่เกินสามช่อง ตัวละครสามารถมีความสัมพันธ์กับอีกตัวละครได้หลายรูปแบบ ทั้งเป็นคนรัก, เพื่อน, หรือความเกี่ยวพันอย่างอื่น ซึ่งถ้าตัวละครทั้งคู่ได้ผ่านบทสนทนาครบสามครั้งแล้ว ผลลัพธ์ของความสัมพันธ์อาจส่งผลต่อตอบจบของเกมได้ เช่น อาจมีการแต่งงานระหว่างตัวละครทั้งสองในตอนจบ หรือการเป็นเพื่อนกันไปตลอด เป็นความสัมพันธ์ที่มีการพัฒนาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น หรือในบางครั้งก็นำไปสู่การจากกันอย่างแสนซาบซึ่ง

การตาย(Death)

ตัวละครไฟร์เอมเบลมที่พลังชีวิตหมดลง และตาย จะไม่สามารถนำกลับมาเล่นได้อีก ส่วนนี้ส่งผลต่อการดึงตัวละครอื่นๆ(NPC) และ ตัวละครศัตรู ในอนาคต ดังนั้นถ้าผู้เล่นต้องการใช้ตัวละครดังกล่าว หรือต้องการดึงตัวละครอื่นด้วยตัวละครที่ตายไปแล้ว ผู้เล่นต้องเริ่มเล่นฉากนั้นใหม่ตั้งแต่ต้น นอกจากนี้ เกมจะยุติลง(Game Over) เมื่อตัวละครหลักตาย หรือ จากการที่ไม่สามารถทำตามเงื่อนไขของที่แต่ละฉากกำหนดได้ จะมีแต่ในกรณีที่พิเศษเช่นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง ที่ตัวละครที่ตายในการต่อสู้ไม่ได้ตายจริง อย่างไรก็ตามผู้เล่น ก็ไม่สามารถใช้ตัวละครดังกล่าวได้อีกต่อไปจนจบเกม มีเพียงโอกาสที่หาได้ยากจริงๆเท่านั้นที่ตัวละครที่ตายไปแล้ว สามารถนำกลับมาเล่นใหม่ได้อีก ตัวอย่างเช่นใน Fire Emblem ภาคนี้แบ่งเนื้อเรื่องออกเป็นสองส่วน คือ Lyn's tale และ Eliwood's tale(หรือ Hector's tale) ตัวละครจากส่วนของ Lyn's tale ทั้งหมดจะถูกดึงมาในส่วนที่สองทั้งหมด ไม่ว่าตัวละครนั้นจะรอดตายมาจากส่วนแรกหรือไม่ก็ตาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไฟร์เอมเบลม http://www.animenewsnetwork.com/encyclopedia/anime... http://www.chudahs-corner.com/ http://www.chudahs-corner.com/soundtracks/index.ph... http://fire-emblem.com/ http://uk.gamespot.com/gba/index.html?tag=header;l... http://uk.gamespot.com/gba/rpg/fireemblem/review.h... http://hg101.classicgaming.gamespy.com/fireemblem/... http://hg101.classicgaming.gamespy.com/fireemblem/... http://hg101.classicgaming.gamespy.com/index.html http://nindb.classicgaming.gamespy.com/agb-ae7.sht...