ไรชส์ค็อมมิสซารีอาท
ไรชส์ค็อมมิสซารีอาท

ไรชส์ค็อมมิสซารีอาท

ไรชส์ค็อมมิสซารีอาท (เยอรมัน: Reichskommissariat) เป็นชื่อเยอรมันสำหรับประเภทของเขตการปกครองโดยเจ้าหน้าที่รัฐบาลซึ่งเป็นที่รู้จักกันคือ ไรชส์ค็อมมิสซาร์ (Reichskommissar) แม้ว่าสำนักงานดังกล่าวจะมีอยู่หลายแห่งในช่วงตลอดระยะเวลาของจักรวรรดิเยอรมันและสมัยนาซีในจำนวนของอาณาเขตที่แตกต่างกัน (อย่างเช่น โครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ, การวางแผนเชิงพื้นที่, การล้างชาติพันธุ์ เป็นต้น) มันเป็นสิ่งที่ปกติที่ถูกใช้เพื่ออ้างถึงการจัดตั้งเขตการปกครองแบบกึ่งอาณานิคมซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยนาซีเยอรมนีในหลายประเทศที่ถูกยึดครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในขณะที่ตั้งอยู่ในภายนอกไรช์เยอรมันอย่างเป็นทางการในแง่ของกฎหมาย หน่วยงานเหล่านี้ถูกควบคุมโดยตรงจากเจ้าหน้าที่พลเรือนที่มีอำนาจสูงสุด (ไรชส์ค็อมมิสซาร์) ผู้มีหน้าที่ในการปกครองดินแดนที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ว่าการรัฐเยอรมันทั้งในนามของและฐานะตัวแทนโดยตรงของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์[1]การริเริ่มการบริหารปกครองดินแดนเหล่านี้มีวัตถุประสงค์หลายประการ การก่อตั้งขึ้นมานั้นหรือวางแผนที่จะก่อตั้งขึ้นในทางตะวันตกและตอนเหนือของยุโรปโดยทั่วไปในฐานะที่เป็นขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านสำหรับการรวมตัวกันในอนาคตของชนชาติเยอรมันจากด้านนอกหลายประเทศต่างๆในช่วงก่อนสงครามเยอรมนีเข้าสู่การขยายตัวรัฐนาซี[2] ในสิ่งที่คล้ายคลึงของทางด้านตะวันออกของพวกเขาได้มีหน้าที่เป็นอาณานิคมหลักและวัตถุประสงค์ของจักรวรรดินิยมเป็นแหล่งที่มาของอนาคต เลเบนสเราม์สำหรับการตั้งถิ่นฐานของชาวเยอรมันและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ[3][4]ด้วยความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือระดับของการบริหารปกครองที่ปรับปรุงใหม่ที่ได้ดำเนินการในสองประเภท เช่นเดียวกับในดินแดนอื่น ๆ จำนวนมากที่ถูกยึดครองโดยเยอรมนี ผู้บริหารท้องถิ่นและข้าราชการได้ถูกกดดันเพื่อดำเนินการตามปกติแบบวันต่อวัน (โดยเฉพาะในระดับกลางและล่าง) แม้ว่าจะอยู่ภายใต่การกำกับดูแลของเยอรมนีก็ตาม ในช่วงสงคราม ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทในยุโรปตะวันตกและตอนเหนือยังคงรักษาโครงสร้างการบริหารที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ด้านตะวันออกก็ได้มีโครงสร้างขึ้นมาใหม่อย่างเสร็จสมบูรณ์ที่ได้รับการนำเสนอ[5]ทั้งหมดของหน่วยงานเหล่านี้ต่างก็มีวัตถุประสงค์เดียวกันสำหรับกรณีการรวมตัวเข้าสู่ไรช์เยอรมันใหญ่ (Großdeutsches Reich) ครอบคลุมพื้นที่ทั่วไปของยุโรปซึ่งทอดยาวจากทะเลเหนือไปยังเทือกเขายูรัล, ซึ่งเยอรมันจะสร้างเป็นพื้นฐาน[6]

ใกล้เคียง