ปัญหาในความเข้าใจจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ของ ไรชส์อุนมิทเทิลบาร์ไคท์

การที่จะทำความเข้าใจถึงการมอบหรือการใช้ “ไรชส์อุนมิทเทิลบาร์ไคท์” ทำให้ประวัติของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เป็นระบบที่ยากต่อการเข้าใจ โดยเฉพาะในบรรดานักประวัติศาสตร์ แม้แต่โดยนักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยเช่นโยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเธอ และ โยฮันน์ กอทท์ลีบ ฟิคท์ (Johann Gottlieb Fichte) ผู้เรียกจักรวรรดิว่า “มหายักษ์” ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักประวัติศาสตร์ผู้เขียนเกี่ยวกับจักรวรรดิว่าไม่เป็นทั้ง “โรมัน” และ ไม่ทั้ง “ศักดิ์สิทธิ์” หรือ ไม่แม้แต่เป็น “จักรวรรดิ” เมื่อเทียบกับ “จักรวรรดิบริติช” มีความเห็นว่าจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เป็นความล้มเหลวอันใหญ่หลวงที่รุ่งเรืองถึงจุดสูงสุดเมื่อต้นยุคกลาง และเสื่อมโทรมลงตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา[2] หลังจากการตีพิมพ์งานของเจมส์ ไบรซ์ชิ้นใหญ่เกี่ยวกับจักรวรรดิที่มีชื่ออันเหมาะสมว่า “จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์” เป็นเวลาเกือบหนึ่งร้อยปี ทัศนคตินี้ก็เป็นทัศนคติของนักประวัติศาสตร์ของสมัยใหม่ตอนต้นเกือบทุกคนเรื่อยมา ซึ่งมีส่วนในการวางรากฐานของปรัชญาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เยอรมันที่เป็นที่โต้แย้งกันที่เรียกว่า “วิถีพิเศษ” (Sonderweg)[3]

ใกล้เคียง