เภสัชวิทยา ของ ไฮโดรคอร์ติโซน

เภสัชพลศาสตร์

ไฮโดรคอร์ติโซน เป็นคอร์ติโคสเตอรอยด์ซึ่งทำหน้าที่โดยเฉพาะเป็นทั้งกลูโคคอร์ติคอยด์ และมิเนราโลคอร์ติคอยด์ นั่นคือเป็นตัวทำการ (agonist) ของตัวรับกลูโคคอร์ติคอยด์ และมิเนราโลคอร์ติคอยด์

ไฮโดรคอร์ติโซน มีความแรงของยา (potency) ต่ำเมื่อเทียบกับคอร์ติโคสเตอรอยด์สังเคราะห์ โดยเมื่อเทียบกับไฮโดรคอร์ติโซน พบว่าเพรดนิโซโลนมีฤทธิ์มากเป็น 4 เท่า และเดกซาเมทาโซนมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบประมาณ 40 เท่า[10] นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพรดนิโซโลนในการทดแทนคอร์ติซอลได้ และในระดับยาทดแทน (ซึ่งมากกว่าระดับต้านการอักเสบ) เพรดนิโซโลนมีฤทธิ์มากกว่าคอร์ติซอลประมาณแปดเท่า[11]

เภสัชจลนศาสตร์

คอร์ติซอลส่วนใหญ่ในกระแสเลือด (ทั้งหมดประมาณ 4%) จับกับโปรตีน รวมถึงคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่มีพันธะกับโกลบูลิน (CBG) และซีรัมอัลบูมิน คอร์ติซอลอิสระสามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งจะเข้าทำปฏิกิริยากับตัวรับคอร์ติโคสเตียรอยด์[12]

ใกล้เคียง

ไฮโดรเจน ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไฮโดรคอร์ติโซน ไฮโดรเจนโบรไมด์ ไฮโดรคาร์บอน ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ไฮโดรเจนคลอไรด์ ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์แบบไอระเหย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไฮโดรคอร์ติโซน http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.5551.... http://www.google.com/patents?vid=2183589 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15761542 http://www.kegg.jp/entry/D00088 //hdl.handle.net/10665%2F325771 http://www.yaandyou.net/index_list.php?drugname=Hy... http://www.whocc.no/atc_ddd_index/?code=A07EA02 http://www.whocc.no/atc_ddd_index/?code=C05AA01 http://www.whocc.no/atc_ddd_index/?code=D07AA02 http://www.whocc.no/atc_ddd_index/?code=H02AB09