ประวัติวิทยาลัย ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร_จังหวัดชลบุรี

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี[1]

เดิมคือ “ศูนย์อบรมและแสดงการปฏิบัติการ อนามัยจังหวัดชลบุรี” ตั้งขึ้น พ.ศ. 2494 ใช้เป็นสถานที่อบรมฟื้นฟูความรู้แก่เจ้าหน้าที่อนามัยทุกประเภท

พ.ศ. 2500 ได้จัดตั้งโรงเรียนพนักงานอนามัยเป็นแห่งแรกที่ศูนย์อบรมฯนี้ และเปิดอบรมหลักสูตรพนักงานอนามัยซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น หลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน)

พ.ศ. 2506 เปลี่ยนชื่อศูนย์อบรมและแสดง การปฏิบัติการอนามัย จังหวัดชลบุรี เป็น “ศูนย์ฝึกอบรมอนามัยภาคกลางจังหวัดชลบุรี”

พ.ศ. 2510 ได้จัดตั้งโรงเรียนทันตาภิบาลผลิตเจ้าพนักงาน ทันตสาธารณสุขเพื่อให้บริการด้านทันตกรรมแก่เด็ก ที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปี ปัจจุบันคือหลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข)

พ.ศ. 2515 จัดตั้งโรงเรียนอนามัยอำเภอขึ้น ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนสาธารณสุขอำเภอ แต่ได้ยกเลิกหลักสูตรนี้ในปี

พ.ศ. 2528 และได้จัดอบรมอีก 2 รุ่น ใน พ.ศ. 2537 มีผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรนี้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 725 คน ศูนย์ฝึกอบรมอนามัยภาคกลาง จังหวัดชลบุรี ได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมการสาธารณสุขภาคกลางจังหวัดชลบุรี ต่อมา

พ.ศ. 2521ได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคกลาง จังหวัดชลบุรี วิทยาลัยการสาธารณสุขภาคกลาง จังหวัดชลบุรี ได้เปิดสอนหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง) พื้นฐาน ม.ศ.3 ร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2528 และ พ.ศ. 2537 ได้เปิดหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต(ต่อเนื่อง) พื้นฐาน ม.ศ.5 และได้ยกเลิกหลักสูตรในปี พ.ศ. 2550

พ.ศ. 2533 ได้เปิดหลักสูตรเจ้าพนักงานเภสัชกรรม ผลิตเจ้าพนักงานเภสัชกรรมเพื่อปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน ปัจจุบันคือหลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (เทคนิคเภสัชกรรม)

พ.ศ. 2537 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี ได้รับพระราชทานพระราชทินนามของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีว่า “ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี "

พ.ศ. 2540 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี ผลิตบัณฑิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และได้ยกเลิกหลักสูตรในปี พ.ศ. 2556

พ.ศ. 2549 จัดตั้งภาควิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ เพื่อผลิตบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทย ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข และเปิดศูนย์สุขภาพแพทย์แผนไทย

พ.ศ. 2551 จัดตั้งภาควิชาเวชกิจฉุกเฉิน โดยส่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องศึกษาดูงานด้านเวชกิจฉุกเฉินที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรโดยตรง และเพื่อผลิตบุคลากรด้านเวชกิจฉุกเฉิน ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข

พ.ศ. 2552 เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์ และเวชกิจฉุกเฉิน เป็นรุ่นแรก รับวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร์ เข้าเป็นวิทยาเขต และเปิดสอนหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ทันตสาธารณสุข) ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา

พ.ศ. 2554 เปิดหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา (สิ้นสุดการสมทบปี 2562)

ใกล้เคียง

วิทยา วิทยาศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต วิทยาการหุ่นยนต์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาการข้อมูล วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม