ประวัติวิทยาลัย ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร_จังหวัดชลบุรี

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี[1]

เดิมคือ “ศูนย์อบรมและแสดงการปฏิบัติการ อนามัยจังหวัดชลบุรี” ตั้งขึ้น พ.ศ. 2494 ใช้เป็นสถานที่อบรมฟื้นฟูความรู้แก่เจ้าหน้าที่อนามัยทุกประเภท

พ.ศ. 2500 ได้จัดตั้งโรงเรียนพนักงานอนามัยเป็นแห่งแรกที่ศูนย์อบรมฯนี้ และเปิดอบรมหลักสูตรพนักงานอนามัยซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น หลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน)

พ.ศ. 2506 เปลี่ยนชื่อศูนย์อบรมและแสดง การปฏิบัติการอนามัย จังหวัดชลบุรี เป็น “ศูนย์ฝึกอบรมอนามัยภาคกลางจังหวัดชลบุรี”

พ.ศ. 2510 ได้จัดตั้งโรงเรียนทันตาภิบาลผลิตเจ้าพนักงาน ทันตสาธารณสุขเพื่อให้บริการด้านทันตกรรมแก่เด็ก ที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปี ปัจจุบันคือหลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข)

พ.ศ. 2515 จัดตั้งโรงเรียนอนามัยอำเภอขึ้น ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนสาธารณสุขอำเภอ แต่ได้ยกเลิกหลักสูตรนี้ในปี

พ.ศ. 2528 และได้จัดอบรมอีก 2 รุ่น ใน พ.ศ. 2537 มีผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรนี้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 725 คน ศูนย์ฝึกอบรมอนามัยภาคกลาง จังหวัดชลบุรี ได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมการสาธารณสุขภาคกลางจังหวัดชลบุรี ต่อมา

พ.ศ. 2521ได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคกลาง จังหวัดชลบุรี วิทยาลัยการสาธารณสุขภาคกลาง จังหวัดชลบุรี ได้เปิดสอนหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง) พื้นฐาน ม.ศ.3 ร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2528 และ พ.ศ. 2537 ได้เปิดหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต(ต่อเนื่อง) พื้นฐาน ม.ศ.5 และได้ยกเลิกหลักสูตรในปี พ.ศ. 2550

พ.ศ. 2533 ได้เปิดหลักสูตรเจ้าพนักงานเภสัชกรรม ผลิตเจ้าพนักงานเภสัชกรรมเพื่อปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน ปัจจุบันคือหลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (เทคนิคเภสัชกรรม)

พ.ศ. 2537 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี ได้รับพระราชทานพระราชทินนามของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีว่า “ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี "

พ.ศ. 2540 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี ผลิตบัณฑิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และได้ยกเลิกหลักสูตรในปี พ.ศ. 2556

พ.ศ. 2549 จัดตั้งภาควิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ เพื่อผลิตบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทย ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข และเปิดศูนย์สุขภาพแพทย์แผนไทย

พ.ศ. 2551 จัดตั้งภาควิชาเวชกิจฉุกเฉิน โดยส่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องศึกษาดูงานด้านเวชกิจฉุกเฉินที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรโดยตรง และเพื่อผลิตบุคลากรด้านเวชกิจฉุกเฉิน ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข

พ.ศ. 2552 เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์ และเวชกิจฉุกเฉิน เป็นรุ่นแรก รับวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร์ เข้าเป็นวิทยาเขต และเปิดสอนหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ทันตสาธารณสุข) ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา

พ.ศ. 2554 เปิดหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา (สิ้นสุดการสมทบปี 2562)

ใกล้เคียง