จุดภาพชัดเสื่อมเนื่องกับอายุแบบเส้นเลือดงอกใหม่ ของ Anti-vascular_endothelial_growth_factor_therapy

บริษัท Genetech ได้พัฒนาสารภูมิต้านทานซึ่งโคลนจากเซลล์เดียวซ้ำ ๆ คือ ranibizumab ซึ่งเป็น antigen-binding fragment (Fab) ของ bevacizumab เพื่อใช้ในลูกตาในเดือนมิถุนายน 2006 องค์การอาหารและยาสหรัฐได้อนุมัติยานี้เพื่อรักษาจุดภาพชัดเสื่อมเนื่องกับอายุแบบเส้นเลือดงอกใหม่ (neovascular age-related macular degeneration, wet AMD)หลังจากได้ผ่านการทดลองทางคลินิกที่แสดงผลแล้ว 3 ระยะ[6]

ในเดือนตุลาคม 2006 วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (NEJM) รายงานว่า การฉีด ranibizumab เข้าในตาเดือนละครั้งทำให้เห็นภาพได้ชัดขึ้นอย่างสำคัญเมื่อเทียบกับการฉีดยาหลอกแล้วสรุปจากงานทดลอง 2 ปีในระยะ 3 ว่า ยามีประสิทธิผลดีมากในการรักษา AMD แบบ minimally classic (MC) หรือ occult wet โดยมีผลที่ไม่พึงประสงค์ในตาในอัตราต่ำ[7]

งานอีกงานหนึ่งในเดือนมกราคม 2009 ในวารสาร Ophthalmology ให้หลักฐานถึงประสิทธิผลของ ranibizumabโดยรายงานว่า การฉีดยาเข้าตาทุกเดือนทำให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น เทียบกับคนไข้ที่รักษาด้วย photodynamic therapy โดยใช้ยา verteporfinแล้วสรุปจากงานทดลอง 2 ปีระยะ 3 ว่า ยามีประสิทธิผลดีกว่า photodynamic therapy โดยใช้ยา verteporfin เพื่อรักษา AMD แบบ predominantly classic (PC) Wet โดยมีผลที่ไม่พึงประสงค์ต่อตาในอัตราต่ำ[8]

แม้ประสิทธิผลของ ranibizumab จะได้หลักฐานสนับสนุนจากการทดลองทางคลินิกที่ทำอย่างกว้างขวาง[ต้องการอ้างอิง]แต่ประสิทธิผลในด้านค่าใช้จ่ายก็เป็นเรื่องคาใจเพราะยาเพียงแค่ธำรงสภาพของคนไข้ จึงต้องฉีดทุก ๆ เดือนโดยมีค่าใช้จ่ายถึง 2,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 63,000 บาทต้นปี 2561) ต่อครั้ง โดยค่าใช้ใช้จ่ายในการรักษาคนไข้ AMD ในสหรัฐอเมริการวมกันมากกว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (315,200 ล้านบาท) ต่อปีเนื่องจากราคาสูง จักษุแพทย์จำนวนมากจึงหันไปใช้ bevacizumab เป็นยาฉีดเข้าตาทางเลือกเพื่อรักษา AMD แบบเปียก

งานศึกษาปี 2007 ที่พิมพ์ในวารสารจักษุแพทย์ British Journal of Ophthalmology รายงานว่า หาก ranibizumab ไม่มีประสิทธิผล 2.5 เท่าเทียบกับ bevacizumab ยา ranibizumab ก็จะไม่มีประสิทธิภาพในด้านค่าใช้จ่ายแล้วสรุปว่า ราคาของยา ranibizumab จะต้องลดลงอย่างมากเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในด้านค่าใช้จ่าย[9]

ดังนั้น การฉีดยา bevacizumab เข้าตาที่ไม่ได้รับอนุมัติ จึงกลายเป็นวิธีการรักษาจุดภาพชัดเสื่อมเนื่องกับอายุแบบเส้นเลือดงอกใหม่ที่ใช้อย่างกว้างขวาง[10]แม้องค์การอาหารและยาสหรัฐจะไม่ได้อนุมัติเพื่อรักษาโรคที่ไม่ใช่มะเร็งงานศึกษาบางงาน[ไหน?]ก็แสดงว่า bevacizumab มีประสิทธิผลในการเพิ่มการเห็นได้ชัดโดยมีอัตราอาการที่ไม่พึงประสงค์ต่ำแต่เพราะมีขนาดตัวอย่างน้อยและไม่ใช่การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ผลที่ว่าจึงไม่ชัดเจน

ในปี 2012 งานวิจัยทางคลินิก Comparison of Age-Related Macular Degeneration Treatment Trials (CATT Study) ที่ได้ทุนจากรัฐบาลกลางสหรัฐ และงาน Inhibition of VEGF in Age-related Choroidal Neovascularization (IVAN) study ที่ได้ทุนจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร ได้ระบุผลจากการเปรียบเทียบการใช้ยา 2 ตัว คือ ranibizumab และเบวะซิซิวแมบ ในการรักษาโรคจุดภาพชัดจอตาเสื่อม รวมทั้ง[11]

  • ถึงแม้จะยังไม่สามารถสรุปผลได้ชัดเจน แต่ข้อมูลที่มีอยู่ระบุว่า ยาสองตัวมีประสิทธิภาพแก้ไขการมองเห็นได้ไม่ต่างกัน
  • ไม่พบความแตกต่างอย่างชัดเจนของยาทั้งสองตัวต่ออัตราการเสียชีวิตและความเสี่ยงของการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน (arteriothrombotic events)
  • ตีความไม่ได้ว่า bevacizumab มีผลข้างเคียงมากกว่า เพราะข้อมูลไม่เพียงพอเพื่อระบุว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นเหล่านั้นเกิดจากสารยับยั้งการสร้างหลอดเลือด

โดยเดือนพฤษภาคม 2012 ประกันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ คือ Medicare ได้รับจ่ายการรักษาต้าน VEGF ด้วย bevacizumab (Avastin) สำหรับโรค AMD แล้ว โดยมีค่าใช้จ่ายพอสมควรและมีประสิทธิผลส่วนการรักษาด้วย ranibizumab (Lucentis) ซึ่งเป็นยาที่มีโมลกุลเล็กกว่าและได้อนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ (2006) ก็ยังมีราคาสูงกว่า เช่นเดียวกับยาที่ได้รับอนุมัติในปี 2011 คือ aflibercept (Eylea)มีงานทดลองที่ยังดำเนินอยู่เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาเหล่านี้

แหล่งที่มา

WikiPedia: Anti-vascular_endothelial_growth_factor_therapy http://www.cell.com/cancer-cell/abstract/S1535-610... http://www.cell.com/cancer-cell/abstract/S1535-610... http://www.nature.com/nrc/journal/v8/n8/abs/nrc244... http://patentdocs.typepad.com/patent_docs/2007/10/... http://www.fda.gov/NewsEvents/Newsroom/PressAnnoun... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17021318 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17431015 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18650835 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19118696 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19249680