ลักษณะ ของ Aquilolamna

Aquilolamna แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวที่แปลกประหลาดอย่างยิ่ง อันทำให้มันไม่เหมือนฉลามใด ๆ ที่สูญพันธุ์ไปแล้วหรือยังคงมีชีวิตอยู่ โดยมีลำตัวเป็นทรงกระสวยและหางที่ลักษณะคล้ายกับฉลามส่วนใหญ่ แต่มีครีบอกที่ยาวเป็นพิเศษจนมีลักษณะคล้ายปีก ความกว้างจากปลายครีบข้างหนึ่งไปยังอีกข้างมีความยาวมากกว่าลำตัว กอปรกับส่วนหัวที่มีความกว้าง จึงนำไปสู่สมมติฐานที่ว่า Aquilolamna เป็นสัตว์ที่กรองแพลงก์ตอนกินเป็นอาหาร และเกิดข้อเสนอแนะว่ารูปร่างที่คล้ายกับกระเบนราหูเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของวิวัฒนาการเบนเข้า ซึ่งปรากฏขึ้นในปลากระเบนในอีกหลายล้านปีต่อมา ตามบันทึกซากดึกดำบรรพ์ แต่มีข้อแตกต่างที่กระเบนราหูใช้การ "โผบิน" ไปในน้ำด้วยการกระพือครีบ แต่ Aquilolamna ใช้การ "ร่อน" ไปในน้ำอย่างเชื่องช้า โดยมีครีบอกที่เรียวยาวช่วยในการทรงตัวและมีครีบหางขับเคลื่อน[1][6]

แหล่งที่มา

WikiPedia: Aquilolamna //doi.org/10.1016%2FS1631-0683(03)00064-2 //doi.org/10.1126%2Fscience.abc1490 http://fossilworks.org/bridge.pl?a=taxonInfo&taxon... //www.worldcat.org/issn/0036-8075 //www.worldcat.org/issn/1631-0683 https://www.abc.net.au/news/science/2021-03-19/lon... https://www.nationalgeographic.com/science/article... https://www.reuters.com/article/us-science-shark-i... https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/... https://phys.org/news/2021-03-discovery-winged-sha...