Golgi_tendon_reflex

Golgi tendon reflex[1] (หรือเรียกว่า inverse stretch reflex, autogenic inhibition[2], tendon reflex[3])เป็นรีเฟล็กซ์ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ เกิดอาศัยแรงตึงของกล้ามเนื้อที่ดึงปลายประสาทรับความรู้สึกระหว่างกล้ามเนื้อกับเอ็นคือ Golgi tendon organ (GTO) เอง ดังนั้นจึงจัดเป็นรีเฟล็กซ์ที่ก่อเองวงรีเฟล็กซ์ (reflex arc) ซึ่งเริ่มจาก GTO เป็นกลไกการป้อนกลับเชิงลบที่ป้องกันไม่ให้เกิดแรงตึงที่กล้ามเนื้อหรือเอ็นมากเกินไปถ้าตึงอย่างสุดโต่ง รีเฟล็กซ์จะมีกำลังมากกว่าการกระตุ้นกล้ามเนื้อของเซลล์ประสาทสั่งการอัลฟา (ซึ่งเป็นตัวสั่งการให้กล้ามเนื้อหดตัว) จึงทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวอย่างฉับพลัน[1]รีเฟล็กซ์นี้ยังเรียกว่า inverse myotatic reflex (รีเฟล็กซ์ยืดกล้ามเนื้อผกผัน)[4]เพราะมีผลกลับกันจาก stretch reflex ซึ่งหดเกร็งกล้ามเนื้อเมื่อกล้ามเนื้อยืดออกผลยับยั้งกล้ามเนื้อของ GTO มาจากวงรีเฟล็กซ์ของมัน ซึ่งก็คือใยประสาทรับความรู้สึกแบบ 1b ที่ส่งเข้าไปในไขสันหลังผ่านรากหลัง (dorsal root) แล้วยุติเป็นไซแนปส์ที่อินเตอร์นิวรอนแบบยับยั้งคือ Ib inhibitory interneuron ซึ่งส่งแอกซอนไปเป็นไซแนปส์โดยตรงกับเซลล์ประสาทสั่งการที่ส่งเส้นประสาทไปยังกล้ามเนื้อเดียวกันอนึ่ง ใยประสาทรับความรู้สึกยังส่งสาขาไปยุติเป็นไซแนปส์แบบเร้าโดยตรงกับเซลล์ประสาทสั่งการที่ส่งเส้นประสาทไปยังกล้ามเนื้อปฏิปักษ์ (antagonist muscle) ด้วย[2]ให้สังเกตว่าวิถีประสาทรีเฟล็กซ์นี้ไม่มีผลยับยั้งโดยตลอดเพราะในสถานการณ์บางอย่าง การเร้า GTO ก็มีผลกระตุ้นเซลล์ประสาทสั่งการ[5]นอกจากป้องกันไม่ให้เกิดแรงตึงเกินที่กล้ามเนื้อและเอ็น รีเฟล็กซ์ยังอาจช่วยกระจายภาระของกล้ามเนื้อไปทั่ว ๆ เส้นใยกล้ามเนื้อ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อเส้นใยกล้ามเนื้อเป็นกระจุก ๆ[1][3]มันช่วยควบคุมแรงของกล้ามเนื้อคล้ายกับที่ stretch reflex ช่วยควบคุมความยาวกล้ามเนื้อ[2]รวมทั้งช่วยให้ออกแรงได้สม่ำเสมอ ช่วยให้ข้อต่อมีเสถียรภาพ เป็นการต้านปัญหาที่ลดกำลังของกล้ามเนื้อ (เช่น ความล้า)[6]เพราะ Ib inhibitory interneuron ได้กระแสประสาทจากประสาทสัมผัสและสมองส่วนต่าง ๆ จึงอาจช่วยให้ควบคุมกล้ามเนื้ออย่างละเอียดได้[5]และอาจทำหน้าที่ป้องกันได้ดีกว่า[6]อนึ่ง เพราะเส้นใยประสาท 1b ส่งกระแสประสาทไปยังเซลล์ประสาทสั่งการของกล้ามเนื้อซึ่งออกแรงที่ข้อต่อต่าง ๆ ของอวัยวะ รีเฟล็กซ์จึงเป็นส่วนของเครือข่ายรีเฟล็กซ์ที่ควบคุมการเคลื่อนไหวอวัยวะหนึ่ง ๆ ทั้งอวัยวะ[5]