การวิจัย ของ Kola_Superdeep_Borehole

หลุมที่ Kola ได้เจาะลึกเข้าไปในแผ่นทวีป Baltic ประมาณ 1/3 ของความหนาทั้งหมดที่คาดว่าหนาประมาณ 35 กิโลเมตร (22 ไมล์) ทำให้พบหินที่มีอายุ 2.7 พันล้านปีที่ก้นหลุม โครงการนี้ได้กลายเป็นสถานที่สำหรับการศึกษาเรื่องธรณีฟิสิกส์อย่างกว้างขวาง รวมถึงการศึกษาโครงสร้างของ Baltic Shield, seismic discontinuities และ thermal regime ในเปลือกโลก, ส่วนประกอบทางฟิสิกส์และเคมีของเปลือกโลกในระดับลึกและการเปลี่ยนแปลงจากเปลือกโลกชั้นบนไปสู่เปลือกโลกชั้นล่าง, lithospheric geophysics และเพื่อสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการศึกษาด้านธรณีฟิสิกส์ในระดับลึก

สำหรับนักวิทยาศาสตร์ หนึ่งในการค้นพบที่น่าตื่นเต้นจากหลุมนี้คือการพบว่าการเปลี่ยนแปลงของ seismic velocities ไม่ได้เกิดขึ้นที่บริเวณที่เปลี่ยนจากหิน แกรนิต เป็นหิน บะซอลต์ ตามที่ Jeffreys ได้ตั้งสมมติฐานไว้ แต่เกิดขึ้นที่บริเวณล่างสุดของชั้น metamorphic rock ที่อยู่ลึกลงไปประมาณ 5 ถึง 10 กิโลเมตรจากพื้นผิว หินในบริเวณนั้นมีรอยแตกมากมายและชุ่มไปด้วยน้ำ ซึ่งน่าประหลาดใจ เนื่องจากน้ำที่พบนี้ไม่เหมือนน้ำที่พื้นผิวโลกและต้องมาจากแร่ธาตุที่อยู่ลึกลงไปในเปลือกโลกและไม่สามารถขึ้นไปถึงพื้นผิวโลกได้เนื่องจากถูกกั้นโดยชั้นของหินที่ไม่ยอมให้น้ำผ่านไปได้

การค้นพบที่ไม่คาดคิดอีกอย่างหนึ่งคือก๊าซไฮโดรเจนปริมาณมาก และมีโคลนไหลออกมาจากช่องซึ่งถูกอธิบายว่าการเดือดด้วยไฮโดรเจน[5]