การปรับตัวตามความจำเป็น ของ Withdrawal_reflex

ให้สังเกตว่า รีเฟล็กซ์สามารถปรับตัวตามความจำเป็นได้ ตัวอย่างเช่น นักวิชาการได้ทดลองใช้อิเล็กโทรดปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ช็อตหน้านิ้วชี้ของผู้ร่วมการทดลองพร้อมกับทำเสียงสัญญาณให้ได้ยิน เมื่อทำเพียงไม่กี่รอบก็สามารถทำให้ผู้ร่วมการทดลองยกนิ้วออกจากอิเล็กโทรดอาศัยรีเฟล็กซ์นี้โดยส่งแต่สัญญาณเสียงเท่านั้น (เป็นการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม) ต่อมาลองแปะอิเล็กโทรดที่หลังนิ้วชี้บ้าง ปรากฏว่า ผู้ร่วมการทดลองโดยมากก็ชักนิ้วออกด้วยรีเฟล็กซ์เมื่อส่งสัญญาณเสียงเช่นกันแม้ว่าจะเป็นการประสานการทำงานของกล้ามเนื้อในรูปแบบตรงกันข้าม (เช่น หดเกร็งกล้ามเนื้อตรงข้าม) กับที่วางเงื่อนไขไว้แต่แรก การตอบสนองมีเงื่อนไขเช่นนี้ จึงไม่ใช่เป็นเพียงการหดเกร็งกล้ามเนื้อในรูปแบบเหมือน ๆ กัน แต่เป็นการชักนำให้เกิดพฤติกรรมที่่สมควร[8]

ตัวอย่างนี้สมกับที่นักวิชาการได้สรุปหลัก 3 ข้อเกี่ยวกับรีเฟล็กซ์กล้ามเนื้อโดยทั่ว ๆ ไปไว้ว่า[8]

  1. วิถีประสาทของรีเฟล็กซ์จะปรับเปลี่ยนการส่งกระแสประสาทให้เข้ากับการเคลื่อนไหวที่ต้องทำ
  2. ข้อมูลความรู้สึกจากที่โดยเฉพาะจะก่อการตอบสนองทางรีเฟล็กซ์ที่กล้ามเนื้อต่าง ๆ พร้อม ๆ กันแม้ว่ากล้ามเนื้อบางส่วนจะห่างจากที่ได้รับความรู้สึกนั้น ๆ
  3. ศูนย์ต่าง ๆ ในสมองมีบทบาทปรับเปลี่ยนรีเฟล็กซ์อย่างสำคัญ แม้กระทั่งจนถึงกลับการเคลื่อนไหวเมื่อจำเป็น
ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: วงรีเฟล็กซ์ § การปรับการตอบสนอง