ก_5_ประการ
ก_5_ประการ

ก_5_ประการ

ในศาสนาซิกข์ "ก 5 ประการ" (ปัญจาบ: ਪੰਜ ਕਕਾਰ) หรือ ปัญจกการ์ (Pañj Kakār) คือ 5 สิ่งที่ชาวซิกข์ต้องมีติดตัวตลอดเวลา แนวคิดนี้ริเริ่มโดยคุรุโควินทสิงห์ ในปี 1699 โดยแรกเริ่มบังคับให้กลุ่ม "ขาลสา" (Khalsa) คือนักรบซิกข์ปฏิบัติเท่านั้น "ก 5 ประการ" ประกอบกอบด้วย ก ทั้ง 5 ประการนั้น ไม่ใช่เป็นเพียงสัญลักษณ์แต่เป็นการสร้างลักษณะภายนอกเฉพาะของศาสนิกชนซิกข์ เป็นการแสดงถึงการเข้าสู่ "สิกขเรหณี" (Sikh rehni) คือ "การใช้ชีวิตแบบชาวซิกข์"[1] ศาสนิกชนที่รับอมฤทธิ์สัญชร (Amrit Sanchar) และดำรง "ก 5 ประการ" นี้ได้ จะถือว่าเป็น "ขาลสา" (Khalsa) คือผู้บริสุทธิ์ หรือ "อมฤทธิ์ธารี" (Amritdhari) คือผู้ประกบอมฤทธิ์สังสการ ส่วนศาสนิกชนที่ไม่ได้รับ "5 ก" นี้แต่ปฏิบัติตามคำสอนในคุรุกรันตสาหิบ จะเรียกว่า "สหัชธารีสิกข์" (Sahajdhari Sikh)