นิยาม ของ กฎของฮุก

พิจารณาสปริงที่ยึดติดกับกำแพงไว้ด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านหนึ่งถูกดึงด้วยแรงขนาด F {\displaystyle F} เมื่อถึงภาวะสมดุลสปริงจะไม่เปลี่ยนขนาดอีกต่อไป ถ้าที่จุดนี้สปริงจะยืดจากความยาวธรรมชาติของสปริง (เมื่อไม่ถูกยืด) ไปเป็นระยะทาง x {\displaystyle x} กฎของฮุกกล่าวว่า

F = k x {\displaystyle F=kx}

หรือ

x = F k {\displaystyle x={\frac {F}{k}}}

โดย k {\displaystyle k} คือจำนวนจริงที่เป็นค่าคงที่เฉพาะตัวของสปริงนั้น ๆ ซึ่งสมการนี่ยังสามารถใช้ในกรณีที่สปริงถูกหดอีกด้วย โดย F {\displaystyle F} และ x {\displaystyle x} นั้นมีค่าติดลบ จากสมการนี้เราสามารถแสดงได้ว่ากราฟระหว่างแรงและระยะยืดจะเป็นเส้นตรงที่ผ่านจุดกำเนิดและมีความชัน k {\displaystyle k}

ในกฎของฮุกนั้น เรามักจะเรียก F s {\displaystyle F_{s}} ว่าเป็นแรงดึงกลับของสปริงที่ทำเพื่อต้านการดึง ในกรณีนี้เราสามารถเขียนสมการ

F s = − k x {\displaystyle F_{s}=-kx}

เพราะทิศทางของแรงดึงกลับของสปริงนั้นจะตรงข้ามกับระยะทางเสมอ