กฎรวมแก๊สและกฎของแก๊สอุดมคติ ของ กฎของแก๊ส

จากกฎทั้งสามกฎข้างต้น นำมารวมได้เป็นกฎรวมแก๊ส ดังสมการ

P 1 V 1 T 1 = P 2 V 2 T 2 {\displaystyle {\frac {P_{1}V_{1}}{T_{1}}}={\frac {P_{2}V_{2}}{T_{2}}}}

ซึ่งจากกฎรวมแก๊ส เราสามารถเปลี่ยนให้เป็นกฎของแก๊สอุดมคติ หรือกฎแก๊สสมบูรณ์ โดยอาศัยกฎของอาโวกาโดร ได้ดังสมการ

P V = n R T {\displaystyle \qquad \qquad PV=nRT}

โดยที่

  • V เป็นปริมาตรของแก๊ส หน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร
  • P เป็นความดันของแก๊ส หน่วยเป็นปาสกาล (หรือพาสคัล)
  • T เป็นอุณหภูมิอุณหพลวัต หน่วยเป็นเคลวิน
  • n เป็นจำนวนโมลของแก๊ส
  • R เป็นค่าคงตัวแก๊สอุดมคติ (ประมาณ 8.3145 จูลต่อ (โมล เคลวิน) )

นอกเหนือจากกฎที่ได้อธิบายไปแล้ว ก็ยังมีกฎการแพร่ของแกรห์ม (หรือบางทีเขียนเป็น เกรแฮม) ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส และกฎความดันย่อยของดาลตัน ซึ่งสามารถนำมาใช้อธิบายพฤติกรรมของแก๊สอุดมคติได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี แก๊สอุดมคติอยู่ในสภาวะที่สมมติขึ้นมา กฎเหล่านี้จึงไม่สามารถอธิบายพฤติกรรมที่แท้จริงของแก๊สปกติได้