กฎของแก๊สอุดมคติ
กฎของแก๊สอุดมคติ

กฎของแก๊สอุดมคติ

กฎของแก๊สอุดมคติ (อังกฤษ: ideal gas law) บ้างก็เรียกว่า สมการแก๊สทั่วไป เป็นสมการของสภาวะ (equation of state) ของแก๊สอุดมคติ (ideal gas) สมมุติและเป็นการประมาณพฤติกรรมของแก๊สที่ดีภายใต้สภาวะต่าง ๆ แม้ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายข้อ ถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกโดย เบอนัว ปอล เอมีล กลาแปรง ในปี ค.ศ. 1834 เป็นการรวมกันของกฏของบอยล์ (Boyle's law), กฎของชาร์ล (Charles's law), กฎของอาโวกาโดร และกฎของแก-ลูว์ซัก (Gay-Lussac's law) ซึ่งเป็นเชิงประจักษ์[1] กฎของแก๊สอุดมคติมักถูกเขียนอยู่ในรูปเชิงประจักษ์:โดย P {\displaystyle P} , V {\displaystyle V} และ T {\displaystyle T} คือความดัน, ปริมาตร และอุณหภูมิ (Thermodynamic temperature) n {\displaystyle n} คือจำนวนของสสาร (amount of substance) และ R {\displaystyle R} คือค่าคงตัวของแก๊สซึ่งมีค่าเท่าเดิมไม่ว่าเป็นแก๊สชนิดใด เราสามารถอนุพัทธ์สมการนี้ได้จากทฤษฎีจลน์ของแก๊สในระดับจุลทรรศน์ดังเช่นที่ได้กระทำแล้ว (โดยอิสระจากกัน) โดย เอากุสต์ เครอนิค (August Krönig) ในปี ค.ศ. 1856[2] และ รูด็อล์ฟ เคลาซีอุส ในปี ค.ศ. 1857.[3]

แหล่งที่มา

WikiPedia: กฎของแก๊สอุดมคติ http://www.gearseds.com/curriculum/learn/lesson.ph... http://gallica.bnf.fr/ark:/12148/bpt6k15184h/f327.... http://gallica.bnf.fr/ark:/12148/bpt6k15185v/f371.... http://gallica.bnf.fr/ark:/12148/bpt6k4336791/f157... http://www.grc.nasa.gov/WWW/K-12/airplane/eqstat.h... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16576959 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1084398 //arxiv.org/abs/1106.1273 //doi.org/10.1002%2Fandp.18561751008 //doi.org/10.1002%2Fandp.18571760302