กฎของอุณหพลศาสตร์
กฎของอุณหพลศาสตร์

กฎของอุณหพลศาสตร์

กฎของอุณหพลศาสตร์ (อังกฤษ: Laws of thermodynamics) คือการนิยามปริมาณทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิ, พลังงานและเอนโทรปี โดยการกำหนดขอบเขตให้มีลักษณะอยู่ในสมดุลทางอุณหพลศาสตร์ กฎของอุณหพลศาสตร์อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเหล่านี้ และสร้างพื้นฐานการขจัดความเป็นไปได้ของปรากฏการณ์บางอย่าง เช่น เครื่องจักรนิรันดร์ นอกจากจะใช้ในอุณหพลศาสตร์แล้ว กฎของอุณหพลศาสตร์ยังเป็นพื้นฐานที่สำคัญของฟิสิกส์โดยทั่วไป และมีการประยุกต์ใช้ในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติอื่น ๆอุณหพลศาสตร์มีกฎพื้นฐานสามข้อที่ได้รับการยอมรับแต่ดั้งเดิม ตั้งชื่ออย่างง่ายโดยใช้ลำดับตัวเลข ได้แก่ กฎข้อที่หนึ่ง, กฎข้อที่สองและกฎข้อที่สาม[1][2][3][4][5] หลังกฎสามข้อแรกได้เป็นที่ยอมรับแล้ว ได้มีกฏอีกข้อหนึ่งที่ได้รับการยอมรับ อาจกล่าวได้ว่าเป็นพื้นฐานกว่ากฎสามข้อแรก โดยตั้งชื่อว่า กฎข้อที่ศูนย์กฎข้อที่ศูนย์ของอุณหพลศาสตร์ นิยามสภาวะสมดุลทางอุณหพลศาสตร์และสร้างพื้นฐานสำหรับการนิยามของอุณหภูมิ: หากทั้งสองระบบต่างอยู่ในสภาวะสมดุลทางอุณหพลศาสตร์กับระบบที่สามแล้ว แสดงว่าทั้งสามระบบอยู่ในสภาวะสมดุลทางอุณหพลศาสตร์ซึ่งกันและกันกฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์: เมื่อพลังงานถ่ายเทในลักษณะงานหรือความร้อนหรือกับวัตถุ เข้าไปหรือออกจากระบบ ทำให้พลังงานภายในของระบบเปลี่ยนไปตามกฎทรงพลังงาน เท่ากับว่า เครื่องจักรนิรันดร์ประเภทหนึ่ง (เครื่องจักรที่สามารถผลิตงานได้โดยไม่มีการป้อนพลังงาน) นั้นเป็นไปไม่ได้กฎข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์: ในกระบวนการอุณหพลศาสตร์ธรรมชาติ, ผลรวมของเอนโทรปีเพิ่มขึ้น จากการทำปฏิกิริยาต่อกันที่ขอบเขต เท่ากับว่า เครื่องจักรนิรันดร์ประเภทสอง (เครื่องจักรสามารถแปลงพลังงานความร้อนไปเป็นพลังงานกลได้ทันทีโดยธรรมชาติ) นั้นเป็นไปไม่ได้กฎข้อที่สามของอุณหพลศาสตร์: เอนโทรปีของระบบเข้าใกล้ค่าคงที่ ขณะที่อุณหภูมิเข้าใกล้ศูนย์สัมบูรณ์[2] โดยยกเว้นของแข็งที่ไม่ใช่ผลึก (แก้ว) เอนโทรปีของระบบที่ศูนย์สัมบูรณ์มักจะใกล้เคียงกับศูนย์มีการเสนอกฎเพิ่มเติม แต่ก็ไม่มีกฎใดที่ได้รับการยอมรับเท่ากับของกฎทั้งสี่ข้อ และไม่ได้กล่าวถึงในตำราเรียนทั่วไป[1][2][3][4][6][7]