การประยุกต์ใช้ในกระบวนการทางอุณหพลศาสตร์ ของ กฎของแก๊สอุดมคติ

ในตารางด้านล่าง สมการของแก๊สอุดมคติถูกทำให้ง่ายลงสำหรับการนำไปใช้กับกระบวนการเฉพาะต่าง ๆ และทำให้สามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีเชิงตัวเลขง่ายยิ่งขึ้น

กระบวนการทางอุณหพลศาสตร์ (thermodynamic process) มีนิยามเป็นระบบซึ่งเคลื่อนจากสภาวะที่ 1 ไปสู่สภาวะที่ 2 โดยเลขซึ่งบอกสภาวะแทนด้วยตัวห้อย โดยกระบวนการพื้นฐานถูกแบ่งออกเป็นแต่ละชนิดตามคุณสมบัติของแก๊สที่ถูกตรึงให้คงที่ไว้ตลอดกระบวนการ (P, V, T, S หรือ H) ดังที่แสดงในสดมภ์แรกของตาราง

จะต้องมีการระบุ (ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม) หนึ่งในอัตราส่วนระหว่างคุณสมบัติ (ซึ่งมีการจัดรายการไว้ในสดมภ์ที่ชื่อว่า "อัตราส่วนที่รู้จัก") เพื่อระบุขอบเขตของกระบวนการทางอุณหพลศาสตร์ชนิดหนึ่ง และคุณสมบัติซึ่งปรากฎอยู่ในอัตราส่วนจะต้องต่างจากคุณสมบัติที่คงที่ (ไม่เช่นนั้นแล้วอัตราส่วนก็จะเป็นเอกภาพ และเราจะไม่มีข้อมูลมากพอที่จะสามารถทำให้สมการง่ายลงได้)

ส่วนในสามสดมภ์สุดท้าย เราสามารถหาค่าของคุณสมบัติ (p, V หรือ T) ของสภาวะที่ 2 ได้จากการนำค่าของคุณสมบัติเหล่านั้นในสภาวะที่ 1 มาคำนวณในสมการซึ่งถูกจัดไว้อยู่ในรายการ

กระบวนการค่าที่คงตัวอัตราส่วนหรือผลต่างที่รู้จักp2V2T2
กระบวนการความดันคงที่
(Isobaric process)
ความดันV2/V1p2 = p1V2 = V1(V2/V1)T2 = T1(V2/V1)
T2/T1p2 = p1V2 = V1(T2/T1)T2 = T1(T2/T1)
กระบวนการปริมาตรคงที่
(Isochoric process)
(Isovolumetric process)
(Isometric process)
ปริมาตรp2/p1p2 = p1(p2/p1)V2 = V1T2 = T1(p2/p1)
T2/T1p2 = p1(T2/T1)V2 = V1T2 = T1(T2/T1)
กระบวนการอุณหภูมิคงที่
(Isothermal process)
 อุณหภูมิ p2/p1p2 = p1(p2/p1)V2 = V1/(p2/p1)T2 = T1
V2/V1p2 = p1/(V2/V1)V2 = V1(V2/V1)T2 = T1
กระบวนการเอนโทรปีคงที่
(Isentropic process)
(กระบวนการความร้อนคงที่ที่ผันกลับได้)
เอนโทรปี[a]p2/p1p2 = p1(p2/p1)V2 = V1(p2/p1)(−1/γ)T2 = T1(p2/p1)(γ − 1)/γ
V2/V1p2 = p1(V2/V1)−γV2 = V1(V2/V1)T2 = T1(V2/V1)(1 − γ)
T2/T1p2 = p1(T2/T1)γ/(γ − 1)V2 = V1(T2/T1)1/(1 − γ) T2 = T1(T2/T1)
กระบวนการโพลีทรอปิก
(Polytropic process)
P Vnp2/p1p2 = p1(p2/p1)V2 = V1(p2/p1)(-1/n)T2 = T1(p2/p1)(n − 1)/n
V2/V1p2 = p1(V2/V1)−nV2 = V1(V2/V1)T2 = T1(V2/V1)(1 − n)
T2/T1p2 = p1(T2/T1)n/(n − 1)V2 = V1(T2/T1)1/(1 − n) T2 = T1(T2/T1)
กระบวนการเอนทาลปีคงที่
(Isenthalpic process)
(กระบวนการความร้อนคงที่ที่ผันกลับไม่ได้)
เอนทาลปี[b]p2 − p1p2 = p1 + (p2 − p1)T2 = T1 + μJT(p2 − p1)
T2 − T1p2 = p1 + (T2 − T1)/μJTT2 = T1 + (T2 − T1)

^ a. ในกระบวนการเอนโทรปีคงที่ เอนโทรปี (S) ของระบบมีค่าคงที่ และ p1 V1γ = p2 V2γ ภายใต้เงื่อนไขนี้ โดย γ คืออัตราส่วนความร้อนจำเพาะ (heat capacity ratio) ซึ่งในแก๊สสมบูรณ์แบบทางพลังงาน (calorically perfect gas) มีค่าคงที่ ค่าของ γ ที่ปกติใช้กับแก๊สสองอะตอม (diatomic gas) เช่นแก๊สไนโตรเจน (N2) และแก๊สออกซิเจน (O2) (และอากาศ ซึ่งประกอบไปด้วยแก๊สสองอะตอม 99%) มีค่าเท่ากับ 1.4 ส่วนค่าที่ใช้กับแก๊สอะตอมเดี่ยวเช่นแก๊สมีตระกูล ฮีเลียม (He) และอาร์กอน (Ar) มีค่าเท่ากับ 1.6 ค่า γ ในเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในมีค่าระหว่าง 1.35 และ 1.15 ซึ่งขึ้นกับองค์ประกอบของแก๊สและอุณหภูมิ

^ b. ในกระบวนการเอนทาลปีคงที่ เอนทาลปี (H) ของระบบมีค่าคงที่ ในบริบทของการขยายตัวอิสระ (free expansion) ของแก๊สอุดมคติ อุณหภูมิมีค่าคงที่และโมเลกุลไม่มีปฏิกิริยาระหว่างกัน กลับกันในแก๊สจริงนั้น โมเลกุลมีปฏิกิริยาระหว่างกันผ่านการดึงดูดหรือผลักไสขึ้นกับความดันและอุณหภูมิ และสามารถร้อนหรือเย็นลงได้ นี่เป็นที่รู้จักว่าปรากฏการณ์จูล-ทอมสัน (Joule-Thomson effect) สำหรับการอ้างอิง สัมประสิทธิ์จูล-ทอมสัน μJT สำหรับอากาศที่อุณหภูมิห้อง ณ ระดับน้ำทะเลเท่ากับ 0.22 °C/bar[7]

แหล่งที่มา

WikiPedia: กฎของแก๊สอุดมคติ http://www.gearseds.com/curriculum/learn/lesson.ph... http://gallica.bnf.fr/ark:/12148/bpt6k15184h/f327.... http://gallica.bnf.fr/ark:/12148/bpt6k15185v/f371.... http://gallica.bnf.fr/ark:/12148/bpt6k4336791/f157... http://www.grc.nasa.gov/WWW/K-12/airplane/eqstat.h... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16576959 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1084398 //arxiv.org/abs/1106.1273 //doi.org/10.1002%2Fandp.18561751008 //doi.org/10.1002%2Fandp.18571760302