ข้อความ ของ กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น

สภาผู้บริหารสูงสุดแห่งโซเวียต ของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตและฝ่าละอองธุลีพระบาท จักรพรรดิฮิโระฮิโตะ ได้มารวมกันด้วยความปรารถนาที่จะส่งเสริมสันติภาพและสัมพันธไมตรีระหว่างสองประเทศ ได้ตัดสินใจที่จะลงนามในข้อตกลงรักษาความเป็นกลาง เพื่อจุดประสงค์ดังต่อไปนี้:

  • สภาผู้บริหารสูงสุดแห่งโซเวียตของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต - วียาเชสลาฟ โมโลตอฟ ประธานสภาผู้ตรวจการของประชาชนและผู้ตรวจการประชาชน แห่งกิจการว่าการต่างประเทศของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
  • ฝ่าละอองธุลีพระบาท จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น นายโยะซุเกะ มะสึโอะกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น จุซันมิน คาวาเลียร์แห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อรหสมบัติขั้นที่หนึ่ง และพลโทโยะชิสึเกะ ทาเทกาวะ เอกอัครราชทูตวิสามัญและทูตผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต จุซันมิน คาวาเลียร์แห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัยขั้นที่หนึ่ง และเครื่องราชอิสริยภรณ์ว่าวทองขั้นที่สี่

ผู้ซึ่งหลังจากการแลกเปลี่ยนหนังสือแนะนำตัวกันแล้ว และได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ ได้สรุปข้อตกลงดังต่อไปนี้:

  • ข้อหนึ่ง คู่สัญญาทั้งสองได้ให้การรับรองว่าจะดำรงรักษาสันติภาพและสัมพันธไมตรีระหว่างทั้งสองฝ่าย และต่างก็เคารพความมั่นคงของอาณาเขตของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งจะถูกละเมิดมิได้
  • ข้อสอง ในช่วงที่หนึ่งในคู่สัญญาเกิดภาวะสงครามกับประเทศที่สาม คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องดำรงความเป็นกลางตลอดช่วงสภาวะสงครามนั้น
  • ข้อสาม สัญญาดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้มาลงนามกันในวันนี้ และมีผลบังคับใช้เป็นเวลาห้าปีนับตั้งแต่วันที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้ลงนาม ในกรณีถ้าหากฝ่ายหนึ่งเพิกถอนสัญญาเป็นเวลาหนึ่งปี ก่อนสัญญาดังกล่าวจะครบวาระ สัญญาจะได้รับการพิจารณาให้ต่อเวลาออกไปอีกห้าปีโดยอัตโนมัติ
  • ข้อสี่ สัญญาดังกล่าวจำต้องได้รับการอนุมัติโดยเร็วที่สุด และสถานที่ลงนามอาจจะเปลี่ยนไปเป็นที่กรุงโตเกียวได้เช่นกัน

ในการยืนยันของข้อตกลงที่ได้กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าวเป็นจำนวนสองฉบับ ซึ่งได้ร่างขึ้นในภาษารัสเซียฉบับหนึ่งและในภาษาญี่ปุ่นอีกฉบับหนึ่ง และได้รับการประทับตราจากผู้แทนของทั้งสองฝ่าย ลงนามในกรุงมอสโก เมื่อวันที่ 13 เมษายน 1941 ซึ่งตรงกับ วันที่ 13 เดือน 4 ปีโชวะที่ 16, วี.โมโลตอฟ; โยะซุเกะ มัสซูโอกะ, โยชิสึกุ ทาเทกาวะ[1]

ใกล้เคียง

กติกาฟุตบอล กติกาสัญญาวอร์ซอ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ กติกาสัญญาไตรภาคี กติกาสัญญาเหล็ก กติกาสัญญาเคลลอก–บริยอง