ผลที่เกิดขึ้นตามมา ของ กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น

สนธิสัญญาดังกล่าวได้ขยายตัวขึ้น โดยมีการเชื่อมโยงไปถึงมองโกเลียและแมนจูเรีย สหภาพโซเวียตได้รับประกันต่อความมั่นคงตามอาณาเขตของแมนจูกัว ขณะที่ญี่ปุ่นก็ได้รับประกันความมั่นคงแก่มองโกเลียด้วยเช่นกัน[2] หลังจากนั้น ในปี 1941 ญี่ปุ่น ในฐานะผู้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคี มีความวิตกกังวลว่าควรจะมีการเพิกถอนสนธิสัญญาความเป็นกลางโซเวียต-ญี่ปุ่นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากนาซีเยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียตในปฏิบัติการบาร์บารอสซา แต่ญี่ปุ่นก็ได้ตัดสินใจที่จะยังคงรักษาสัญญานี้ไว้ และจะขยายดินแดนไปทางใต้ และโจมตีอาณานิคมของชาติอาณานิคมยุโรปในทวีปเอเชียแทน

ในวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตได้ฉีกสนธิสัญญาดังกล่าว โดยแจ้งแก่รัฐบาลญี่ปุ่นว่า "ตามที่ในข้อสามได้กล่าวเอาไว้ 'ซึ่งได้เปิดโอกาสให้เพิกถอนสนธิสัญญาได้เป็นเวลาหนึ่งปีก่อนหน้าที่ระยะเวลาของสนธิสัญญาจะครบห้าปีตามกำหนด รัฐบาลโซเวียตได้ทราบดีว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะยังสามารถจำสนธิสัญญาในวันที่ 13 เมษายน 1941 นี้ได้'"[3]

ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตประกาศสงครามต่อญี่ปุ่นในปฏิบัติการพายุสิงหาคม ซึ่งเป็นการรักษาสัญญาในที่ประชุมยัลต้า แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ที่จะเข้าสู่สงครามในเวลาสามเดือนหลังจากวันแห่งชัยชนะในทวีปยุโรป[4] ญี่ปุ่นได้โต้แย้งว่า ขณะที่สหภาพโซเวียตชี้ให้เห็นถึงเนื้อหาของข้อสามว่าสนธิสัญญาดังกล่าวจะไม่ได้รับการต่ออายุ ปฏิบัติการพายุสิงหาคมก็ยังละเมิดต่อสนธิสัญญา ซึ่งยังไม่ครบวาระจนกว่าจะถึงวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1946[5]

ใกล้เคียง

กติกาฟุตบอล กติกาสัญญาวอร์ซอ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ กติกาสัญญาไตรภาคี กติกาสัญญาเหล็ก กติกาสัญญาเคลลอก–บริยอง