ความพยายามที่จะเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างอังกฤษ-เยอรมนี ของ กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น

ก่อนหน้านั้น ในเดือนมิถุนายน 1935 ข้อตกลงการเดินเรือระหว่างอังกฤษ-เยอรมนีได้ถูกลงนามโดยสหราชอาณาจักรและนาซีเยอรมนี เหตุการณ์ดังกล่าวนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความพยายามของฮิตเลอร์ทื่จะเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างอังกฤษและเยอรมนี รวมไปถึงแยกสหภาพโซเวียตให้อยู่โดดเดี่ยว ขณะที่อังกฤษและสหภาพโซเวียตต่างก็พยายามแยกเยอรมนีให้อยู่อย่างโดดเดี่ยวเช่นกัน ฮิตเลอร์ยังได้แผ่อิทธิพลไปยังโปแลนด์เพื่อให้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากล และกล่าวถึงความตั้งใจของเขาที่จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับแนวชายแดนเยอรมนี-โปแลนด์[8] อย่างไรก็ตาม โปแลนด์ได้ปฏิเสธข้อตกลงของฮิตเลอร์ ด้วยกลัวว่าถ้าหากยอมทำเช่นนั้น ตนก็อาจจะต้องตกอยู่ใต้อำนาจของนาซี ในเวลาเดียวกันนั้น นักการเมืองญี่ปุ่นหลายคน รวมทั้งพลเรือเอกอิโซะโระกุ ยะมะโมะโตะ ต่างก็ตื่นตระหนกต่อสนธิสัญญาดังกล่าว แต่ว่าผู้บัญชาการทหารระดับสูงของญี่ปุ่นได้เข้ายึดกรุงโตเกียว ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้แก่เยอรมนีเพื่อที่จะทำสัญญากับอังกฤษต่อไป เยอรมนียังคงวางแผนการที่จะทำสงครามกับสหภาพโซเวียตและพันธมิตรตะวันตกต่อไป

ความพยายามของฮิตเลอร์ที่จะพัฒนาสัมพันธไมตรีกับอังกฤษประสบความล้มเหลว ในเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีเองกลับทำลายสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลของตัวเองเมื่อสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพถูกลงนาม ซึ่งเป็นสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างสหภาพโซเวียตและเยอรมนีอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงปี 1940 ฮิตเลอร์ได้เริ่มวางแผนการรุกรานสหภาพโซเวียต (ซึ่งแต่เดิมกำหนดไว้เมื่อปี 1943) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งนาซีเยอรมนี โยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ ได้รีบเจรจาสนธิสัญญาฉบับใหม่กับญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1940 ริบเบนทรอพได้ส่งโทรเลขไปยังนายวีเชสลาฟ โมโลตอฟ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของโซเวียต แจ้งให้ทราบว่าเยอรมนี ญี่ปุ่นและอิตาลีมีความพยายามที่จะรวมตัวกันเป็นพันธมิตรทางการทหาร ริบเบนทรอพได้บอกกับโมโลตอฟว่าการรวมตัวเป็นพันธมิตรในครั้งนี้จะพุ่งเป้าไปยังสหรัฐอเมริกา มิใช่สหภาพโซเวียต:

"เป็นความปรารถนาของผู้ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกซึ่งได้รวมตัวกันขึ้นเพื่อบีบคั้นมิให้สหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามในครั้งนี้ โดยทำให้พวกเขาได้รู้สึกว่าการเข้าสู่สงครามของพวกเขา จะต้องพบกับศึกหนึกอันประกอบไปด้วยสามชาติมหาอำนาจซึ่งได้ร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้น"

ใกล้เคียง

กติกาฟุตบอล กติกาสัญญาวอร์ซอ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ กติกาสัญญาไตรภาคี กติกาสัญญาเหล็ก กติกาสัญญาเคลลอก–บริยอง