จุดกำเนิด ของ กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น

จักรวรรดิ์ญี่ปุ่นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เป็นรัฐบาลฟาสซิสต์ชาตินิยมที่หวาดกลัวลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยพยายามจับกุมและทำลายกลุ่มนักเคลื่องไหวสายสังคมนิยมอย่างเหี้ยมโหด. รัฐบาลญี่ปุ่นเกรงว่าลัทธิคอมมิวนิสต์จะมาทำลายความเป็นชาตินิยมของจักรวรรดิ์และพระราชอำนาจของพระจักรพรรดิ์ จึงเริ่มแสวงหาพันธมิตรในการต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์. จุดกำเนิดของสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลได้เริ่มต้นเมื่อฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ. 1935 เมื่อนายทหารหลายนายของเยอรมนีทั้งในและนอกกระทรวงการต่างประเทศพยายามที่จะรักษาสมดุลในความต้องการทางการแข่งขันโดยขึ้นอยู่กับนโยบายต่างประเทศของนาซีเยอรมนี ซึ่งมีความขัดแย้งกันระหว่างฝ่ายที่ต้องการจะรักษาความเป็นพันธมิตรกับสาธารณรัฐจีน และความปรารถนาส่วนตัวของฮิตเลอร์ที่จะสร้างพันธมิตรใหม่กับจักรวรรดิญี่ปุ่น[2] เมื่อถึงเดือนตุลาคม 1935 ข้อเสนอดังกล่าวได้มีการถกเถียงกันว่าพันธมิตรที่มีเป้าหมายเพื่อที่จะต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์นั้นจะเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพรรคก๊กมินตั๋ง นาซีเยอรมนี และจักรวรรดิญี่ปุ่น[2] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวคิดดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากโยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ เอกอัครราชทูตพิเศษและหัวหน้าของ Dienststelle Ribbentrop และ นายพลโอชิมา ฮิโรชิ ผู้ช่วยทูตทหารญี่ปุ่นในกรุงเบอร์ลิน ซึ่งหวังว่าการรวมตัวเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีจะทำให้จีนยอมจำนนต่อญี่ปุ่นในที่สุด[2] แต่ว่าจีนมิได้สนใจในเรื่องดังกล่าวเลย แต่ในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 1935 ริบเบนทรอพและโอชิมาได้ลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากล[3] สนธิสัญญาเบื้องต้นได้ออกมาในตอนปลายเดือนพฤศจิกายน 1935 โดยเชิญให้อังกฤษ อิตาลี จีนและโปแลนด์เข้าร่วมด้วย[3] อย่างไรก็ตาม ด้วยความวิตกกังวลของรัฐมนตรีการต่างประเทศไรช์ คอนชตันทิน ฟอน นอยรัท และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงคราม จอมพล แวร์เนอร์ ฟอน บลอมแบร์ก มีว่าสนธิสัญญาดังกล่าวอาจจะทำลายความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น รวมไปถึงความยุ่งยากในญี่ปุ่นหลังจากการก่อรัฐประหารในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1936 แต่ไม่สำเร็จ ทำให้สนธิสัญญาดังกล่าวถูกระงับไปเป็นเวลาเกือบหนึ่งปี[4] เมื่อถึงฤดูร้อนแห่งปี 1936 อิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของกำลังทหารในคณะรัฐบาลญี่ปุ่น ทั้งเยอรมนีและญี่ปุ่นต่างก็เกรงพันธมิตรระหว่างฝรั่งเศส-สหภาพโซเวียต และความปรารถนาของฮิตเลอร์ในด้านนโยบายต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์มีความเชื่อมั่นว่าถ้าหากสามารถดึงอังกฤษเข้ามาเป็นพันธมิตรได้ สนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลก็จะฟื้นขึ้นมาอีก[5] สนธิสัญญาดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์ในเบื้องต้นในวันที่ 23 ตุลาคม 1936 และลงนามเมื่อ 25 พฤศจิกายน 1936[6] แต่ว่าเยอรมนีก็ยังต้องการที่จะรักษาสัมพันธไมตรีกับสหภาพโซเวียตต่อไป ดังนั้นตัวสนธิสัญญาจึงได้กล่าวถึงเฉพาะองค์การคอมมิวนิสต์สากล แต่ทว่าในข้อตกลงลับที่ได้เขียนชึ้นมานั้นได้กล่าวว่าถ้าเกิดสงครามระหว่างประเทศหนึ่งประเทศใดกับสหภาพโซเวียตขึ้น ประเทศผู้ลงนามที่เหลือจะวางตัวเป็นกลางจนกระทั่งสงครามยุติ.[6]

ใกล้เคียง

กติกาฟุตบอล กติกาสัญญาวอร์ซอ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ กติกาสัญญาไตรภาคี กติกาสัญญาเหล็ก กติกาสัญญาเคลลอก–บริยอง