กบฏมักกะสัน
กบฏมักกะสัน

กบฏมักกะสัน

ทหารถือปืนคาบศิลาและพลหอกสยามและยุโรป 400 นาย[1]
อยุธยา:ชาวสยาม 8,000-20,000 นาย[1]
ชาวยุโรป 40-60 นาย[1]
เรืออังกฤษ 1 ลำ (The Herbert)[1]
เรือท้องแบน 60 ลำ
เรือแจว 22 ลำนักรบมักกะสัน 50 นาย
เรือแจว 1 ลำอยุธยา:นักรบมักกะสัน 100-200 นายชาวสยามและยุโรปถูกฆ่า 366 นายอยุธยา:ชาวยุโรปถูกฆ่า 17 นาย[1]
ชาวสยามประมาณ 1000 นายถูกฆ่า[1]ชาวมักกะสันถูกฆ่า 17 นาย[1]ยึดเรือแจว อยุธยา:ชาวมักกะสันทุกคนถูกฆ่าและถูกจับ[1]กบฏมักกะสัน คือกลุ่มกบฏมุสลิมในช่วงปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประมาณ 300 คน ตั้งบ้านเรือนอยู่ย่านคลองตะเคียน นอกพระนครศรีอยุธยา ได้สมคบกับเจ้านายพื้นเมืองกลุ่มอื่น ๆ ก่อความวุ่นวายขึ้น แต่ถูกปราบปรามจนต้องลงเรือหนีล่องตามแม่น้ำผ่านไปทางบางกอก เมื่อถูกสกัดกั้นจากกองทหารยุโรปที่รักษาเมือง พวกทหารพื้นเมืองกับพวกแขกมักกะสันเลยผสมโรงกันก่อความวุ่นวายทั่วเมืองธนบุรี ทั้ง ๆ ที่มีอาวุธประจำตัวเพียงอย่างเดียวคือกริช แต่กองทหารยุโรปมีปืนทันสมัย ก็ต้องล้มตายมากกว่าจึงปราบลงได้ ถูกบันทึกไว้หนังสือจดหมายเหตุของฟอร์บังโดย "มักกะสัน" เพี้ยนจากชื่อหมู่เกาะมากัสซาร์ (Makassar ปัจจุบันอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย) แต่คนที่ถูกเรียกว่า แขกมักกะสัน มีทั้งมาจากเกาะมากัสซาร์และเกาะซูลาเวซี (เซเลบีส)ความดุร้ายบ้าเลือดของพวกแขกมากาซาที่คนไทยเรียกกันว่า “แขกมักกะสัน” เป็นเรื่องลือลั่นอยู่ในประวัติศาสตร์ไทย เมื่อพวกแขกจากเกาะเซเลเบส หรือ สุราเวสี ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระนารายณ์ เกิดความคับแค้นใจจากพวกฝรั่งที่มีอิทธิพลในยุคนั้น จึงวางแผนจะชิงอำนาจสำเร็จโทษสมเด็จพระนารายณ์ แล้วบังคับพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ให้นับถือศาสนาเดียวกับตน พวกมากาซามีกริชคนละเล่มเป็นอาวุธประจำกาย แต่ฆ่าพวกฝรั่งและไทยที่ถือปืนไปเป็นจำนวนมาก ด้วยความอำมหิตผิดมนุษย์ ไม่กลัวแม้ความตายพวกมากกาซามีถิ่นฐานเดิมอยู่ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก นับถือศาสนาอิสลาม เมื่อถูกฮอลันดาโจมตีระหว่างปี พ.ศ.๒๑๕๙-๒๒๑๐ จึงกระจัดกระจายหลบไปอยู่ตามเกาะต่างๆ ทั้งของอินเดียและมลายู รวมทั้งเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาด้วยเจ้าชายองค์หนึ่งซึ่งอยู่ที่หมู่เกาะเซเลเบส ได้พาผู้ติดตามหนีร้อนมาพึ่งเย็นในราชอาณาจักรสยาม ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงเมตตาต่อเจ้าชายผู้ตกระกำลำบาก พระราชทานที่ดินและบ้านให้อยู่ที่บริเวณปากคลองตะเคียน ซึ่งต่อมาที่แห่งนั้นถูกเรียกว่า “ทุ่งมักกะสัน”เมื่อคับแค้นใจจากพวกฝรั่งที่มีอิทธิพลอยู่ในราชสำนัก ทั้งยังได้รับการยุยงจากขุนนางแขกที่มีอยู่มากในยุคนั้น ทั้งแขกดำแขกขาว แต่ถูกลดอำนาจโดยเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ในปี พ.ศ. ๒๒๒๙ พวกมักกะสันจึงวางแผนจะยกพวกจู่โจมเข้าจับสมเด็จพระนารายณ์สำเร็จโทษ แล้วยกเจ้าฟ้าอภัยทศ พระอนุชา ขึ้นครองราชย์ โดยบังคับให้พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่นับถือศาสนาของพระมะหะหมัด ส่วนประชาชนหากใครไม่ยอมนับถือก็ให้ฆ่าเสีย แต่ความแตกเสียก่อนเมื่อขุนนางแขกจามคนหนึ่งล่วงรู้ความลับ แล้วนำความไปแจ้งกับเจ้าพระยาวิชเยนทร์ อัครมหาเสนาบดีชาวกรีกจึงจัดทัพใหญ่ปราบกบฏถึง ๗,๐๐๐ คน มีนายทัพนานาชาติ ๔๐ คน ทั้งฝรั่งเศส อังกฤษ โปรตุเกส ฮอลันดา ประกาศจะจับหัวหน้ากบฏให้ได้ แต่พวกมักกะสันก็ประกาศสวนออกมาว่า ถ้าใครมาจับก็จะฆ่าทุกคนไม่ให้เหลือ และขุดสนามเพลาะรอบหมู่บ้านพระราชทานเมื่อทหารยกไปถึง พวกมักกะสันทำเป็นหนี นายทัพฝรั่งก็นำทหารไล่ติดตาม พอล่อทหารให้แตกเป็นกลุ่มเล็กๆแล้ว มักกะสันก็หันมาสู้ นายทัพฝรั่งตายไป ๑๗ คน ทหารไทยก็ตายไปมาก วิชเยนทร์เองก็เกือบไม่รอด ต้องโดดน้ำหนีจนเกือบจมน้ำตาย ผู้ติดตามช่วยให้เกาะเรือไว้ได้ แล้วจ้ำพายหนี ขณะที่มักกะสันว่ายน้ำตามวิชเยนทร์เห็นว่ารบกับแขกมักกะสันต้องเสียไพร่พลอีกมากแน่ จึงเปลี่ยนแผนเป็นเอาน้ำเย็นเข้าลูบ เรียกเจ้าชายมักกะสันมาเจรจา เจ้าชายขอเดินทางออกนอกประเทศพร้อมผู้ก่อการ ๕๐ คน วิชเยนทร์ก็ยอม พร้อมกับเขียนหนังสืออนุญาตให้ผ่านด่าน แต่ก็แอบส่งม้าเร็วไปสั่งเชวาเลียร์ เดอ ฟอร์บัง ผู้บังคับการป้อมบางกอก ให้ขึงโซ่ขวางแม่น้ำไว้ แล้วจับพวกมักกะสันไว้ให้ได้เมื่อสำเภาของพวกมักกะสันมาถึงเมืองบางกอก เห็นมีโซ่ขวางไว้ ต้นหนจึงนำกลาสีอีก ๖ คนขึ้นมาขอพบฟอร์บังที่ป้อม ฟอร์บังทำเป็นไม่รู้เรื่องถามว่ามาจากไหนจะไปไหน ต้นหนก็เอาหนังสือผ่านด่านให้ดู ฟอร์บังว่าไม่มีปัญหา แต่เขาก็เป็นคนต่างประเทศเหมือนกัน ขอทำตามหน้าที่ไม่ให้ถูกตำหนิได้ ให้ทุกคนในเรือขึ้นมาขอตรวจดู ถ้ามีแต่มากาซาก็ออกไปได้ทุกคน เพราะตอนนั้นห้ามคนไทยออกนอกพระราชอาณาจักร ต้นหนก็ไม่ขัดข้อง แต่ขอพกกริชขึ้นมาด้วย ฟอร์บังหัวเราะแล้วว่า “เวลานี้เราทำสงครามกันอยู่หรือ” ต้นหนว่า “เราไม่ได้ทำสงครามกันจริงอยู่ แต่กริชที่เหน็บอยู่ข้างตัวนี้ เป็นอาวุธที่เรามีอยู่แก่ตัวเสมอ เป็นเครื่องหมายอันมีเกียรติที่ประจำตัวของเรา และเราไม่ยอมวางอาวุธนั้นให้ได้รับความอัปยศ” ฟอร์บังเห็นว่าอาวุธนั้นไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอะไรเลย จึงยอมอนุโลม แต่ต่อมาเขาได้บันทึกไว้ว่า“...แต่การหาเป็นเช่นนั้นไม่ มันเป็นอาวุธที่ร้ายกาจมาก ดังที่เห็นกับตา...”ฟอร์บังบันทึกไว้ว่า “กริชนั้นเป็นมีดแหลมชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ ๑ คืบ ๔ นิ้ว และที่ต่อกับด้ามก็ยาวประมาณครึ่งนิ้ว รูปคดเหมือนละลอกในกระแสน้ำ ปลายแหลมคล้ายลิ้นงู ทำด้วยเหล็กกล้า ทั้งสองข้างคมเหมือนใบมีดโกน เหน็บไว้ในฝักที่ทำด้วยไม้”ขณะที่ต้นหนส่งคนไปเรียกมักกะสันอีก ๔๗ คนในเรือให้ขึ้นมาที่ป้อม ฟอร์บังก็แอบไปกระซิบนายทหารโปรตุเกสแก่ๆคนหนึ่งที่เขาตั้งให้เป็นนายพันตรี และยืนรอคำสั่งอยู่ ให้ไปสั่งทหารที่วางกำลังซุ่มไว้แล้วระหว่างทางที่ขึ้นจากเรือมาป้อม ให้จับมักกะสันทั้งหมดนายทหารโปรตุเกสได้ฟังก็ตกใจ บอกว่า“ขอรับประทานโทษ ที่ท่านสั่งเช่นนั้น ไม่มีใครปฏิบัติตามได้ ท่านไม่รู้จักแขกมักกะสันเหมือนฉันรู้จักมัน ฉันเกิดมาในบูรพทิศประเทศ รู้จักมันดี ขอให้เชื่อถ้อยคำฉันเถิด คนเหล่านี้หายอมแพ้ง่ายๆไม่ ต้องฆ่ามันก่อนถึงจะจับตัวมันได้ ฉันขอเรียนให้ทราบด้วยว่า ถ้าท่านทำท่าทางที่จะจับต้นหนที่อยู่ในปะรำนั้น เขาและคนของเขาจะฆ่าพวกเราไม่ให้เหลืออยู่สักคนเดียว”ฟอร์บังไม่เชื่อ เห็นว่าเรื่องแค่นี้ไม่ยากเย็นอะไร จึงบอกเขาให้ไปทำตามคำสั่งนายทหารโปรตุเกสเดินหน้าเศร้าไป หลังจากเตือนอีกครั้งว่า“ขอให้ท่านระวังตัวให้มาก มันคงฆ่าท่านเป็นแน่ เชื่อฉันเถิด ฉันเตือนโดยความหวังดีแท้ๆ”คำเตือนข้อหลังนี้ฟอร์บังยอมรับ เขาคัดเลือกทหารไทย ๒๐ คนให้เป็นองครักษ์ ๑๐ คนถือหอก อีก ๑๐ คนถือปืน แล้วบอกขุนนางไทยคนหนึ่งที่เป็นล่าม ให้บอกต้นหนว่ามีความเสียใจที่ได้รับคำสั่งให้จับเขา ขอให้เชื่อเถิดว่าเขาจะเลี้ยงดูเป็นอย่างดีในระหว่างที่ถูกคุมขังขุนนางไทยผู้น่าสงสารได้ปฏิบัติตามคำสั่งของฟอร์บัง พออ้าปากคำแรกว่าจะจับ มักกะสันทั้ง ๖ คนก็โยนหมวกลงพื้น ชักกริชออกจากฝัก กระโจนเข้ามาอย่างมัจจุราช แทงขุนนางไทยคนนั้นและอีก ๖ คนในปะรำ ฟอร์บังถอยออกมาแล้วสั่งทหารที่ติดตามยิงกราด มักกะสันคนหนึ่งยังฝ่ากระสุนเข้าถึงฟอร์บังได้ เขาจึงแทงด้วยหอกเข้าที่ท้อง แต่มักกะสันที่มีหอกทะลุคาท้องก็ไม่ได้แสดงอาการเจ็บปวด กลับดันเข้ามาจะแทงฟอร์บังให้ได้ ฟอร์บังไม่กล้าชักหอกออกจากท้อง และใช้ดันมักกะสันบ้าเลือดไว้ขณะที่ต้องถอยกรูด จนทหารคนหนึ่งได้ฆ่ามักกะสันตายฟอร์บังคิดถึงคำเตือนของนายทหารโปรตุเกส เชื่อว่าอีก ๔๗ คนที่กำลังขึ้นจากเรือมาก็ต้องไม่ยอมให้จับแน่ จึงสั่งนายร้อยเอกอังกฤษคนหนึ่งซึ่งคุมทหารโปรตุเกส ๔๐ คน ให้ไปหยุดพวกนั้นไว้ ถ้าขืนเข้ามาก็ให้ยิงได้ นายทหารอังกฤษไปยันไว้ในระยะห่าง ๑ เส้น แล้วบอกว่าถ้าจะกลับลงเรือก็กลับไปได้เลย และคิดว่าจะยิงทุกคนเมื่อไปถึงเรือที่ไม่มีที่กำบัง แต่มักกะสันว่าจะยอมกลับลงเรือถ้าคืนต้นหนมา เจรจากันอยู่พัก นายทหารอังกฤษเห็นว่าพูดกันไม่รู้เรื่องก็สั่งให้ทหารจับ แต่พอทหารขยับตัว มักกะสัน ๔๗ คนที่นั่งยองๆอยู่ก็ลุกขึ้นพร้อมกัน แก้ผ้าพันเอวออกมาพันที่แขนเป็นโล่ห์ แล้วพุ่งเข้าหากองทหารโปรตุเกสที่ยังงงๆ แทงด้วยกริชจนเนื้อหลุดเป็นชิ้นๆ แล้วพุ่งไปที่ป้อมซึ่งฟอร์บังตั้งแถวทหารรอรับถึงพันคน แต่ก่อนที่จะทำอะไรถูก ทหารหลายคนก็ถูกกริชทะลวงไส้ เกิดการต่อสู้ประชิดตัวจนโกลาหล ทหารหลายคนหนีเข้าไปในป้อมและระดมยิงลงมาเมื่อฆ่าคนจนไม่มีใครจะฆ่าแล้ว และรู้ว่าตัวเองก็ไม่รอด พวกมักกะสันได้กลับไปเผาเรือตัวเอง แล้วยังขึ้นมาเผาค่ายทหาร ก่อนบุกต่อไปยังกรุงศรีอยุธยา ฆ่าทุกคนที่พบไม่ว่าเด็กและผู้หญิง รวมทั้งฆ่าพระหมดทั้งวัดเมื่อพวกมักกะสันไปแล้ว ทหารที่ป้อมก็ออกมา เห็นศพทั้งไทยและฝรั่งเกลื่อนกราด บ้างก็ถูกกริชทะลวงหัวใจ บางคนก็ถูกคว้านท้องจนไส้ไหลออกมา จึงพากันลงเรือตามล่าพวกมักกะสันไปด้วยความโกรธแค้น และไม่ยอมเข้าประชิดตัว ใช้ปืนอย่างเดียว พวกมักกะสันหนีเข้าไปซ่อนในกระท่อมของชาวบ้าน ทหารก็ไม่กล้าเข้าไป ใช้ธนูไฟยิงเผาบ้าน แม้ไฟจะโหมหนักมักกะสันก็ยังไม่ออกมา จนตัวไหม้เกรียมจึงพุ่งออกมาเพื่อให้ศัตรูช่วยฆ่าให้พ้นความเจ็บปวดเมื่อกลับมาสำรวจความเสียหายโดยรอบป้อมบางกอก พบทหารและชาวบ้านเสียชีวิต ๓๖๖ คน มักกะสันตายเพียง ๑๗ คน โดยตายที่ป้อม ๖ คน หลังป้อม ๕ คน และที่วัด ๖ คนส่วนทางกรุงศรีอยุธยา เจ้าพระยาวิชเยนทร์นำทหารฝรั่งทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลันดา ลงเรือ ๒๐๐ ลำล่องไปที่ปากคลองตะเคียนอย่างเงียบๆในเวลากลางคืน พอรุ่งสางเรือรบที่เรียงรายกันเต็มผืนน้ำก็เปิดฉากถล่มด้วยปืนใหญ่ ตามด้วยธนูไฟไปที่หมู่บ้านมักกะสันเป็นห่าฝน ไฟได้ไหม้โชติช่วงทั้งหมู่บ้าน ไม่ว่าผู้หญิง เด็ก และคนชรา บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีการโต้ตอบจากพวกมักกะสันที่มีแค่กริช รอแต่ให้ศัตรูบุกขึ้นมาบนบกเท่านั้นทหารชะล่าใจจึงเทียบเรือขึ้นฝั่ง ทหารฝรั่งบางคนก็ใส่เกราะกันคมกริชขึ้นไปด้วย ทันใดมักกะสันก็กระโจนออกมาจากที่ซ่อน ฆ่าทหารตายทันทีไปหลายคน ที่เหลือต่างกระโจนลงน้ำหนี คนที่ใส่เกราะเลยจมน้ำตายเพราะเกราะในบันทึกไม่ได้กล่าวถึงบทบาทของเจ้าชายในการทำศึกครั้งนี้ ก็คงจะถูกทหารของวิชเยนทร์ฆ่าในกลุ่มของมักกะสันบ้าเลือด ส่วนโอรส ๒ คนของเจ้าชายในวัย ๑๒ และ ๑๓ ปี แม้จะฉวยหอกเข้าสู้ทหารด้วย แต่ก็ไม่มีใครทำร้าย และได้รับอุปการะโดยบาทหลวง ถูกนำตัวไปฝรั่งเศส ต่อมาเข้ารับราชการเป็นทหารเรือที่นั่นกบฏมักกะสัน นับเป็นเหตุการณ์โหดร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ทั้งไทยและฝรั่งต่างไม่คาดคิดว่า พวกมักกะสันจะบ้าเลือดอำมหิตถึงเพียงนั้น และยอมตายแต่ไม่ยอมให้จับเป็น เพราะทุกคนถูกฝังหัวให้เชื่อว่า เมื่อตายไปแล้วจะได้ขึ้นไปรับใช้พระเจ้าบนสวรรค์ ส่วนคนที่ถูกตนฆ่า ก็ได้ไปเป็นทาสของตัวบนสวรรค์ด้วย

กบฏมักกะสัน

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่15 สิงหาคม - 24 กันยายน ค.ศ.1686
สถานที่กรุงเทพและอยุธยา
ผลลัพธ์อาณาจักรอยุธยาชนะ
สถานที่ กรุงเทพและอยุธยา
ผลลัพธ์ อาณาจักรอยุธยาชนะ
วันที่ 15 สิงหาคม - 24 กันยายน ค.ศ.1686