การจลาจล ของ กบฏอาบูชีรี

การจลาจลนำโดยชาวไร่ อาบูชีรี อิบน์ ซิลิม อัลฮัร์ษิ (Abushiri ibn Salim al-Harthi) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากชาวอาหรับในพื้นที่และเผ่าสวาฮีลีพื้นเมือง พ่อของอาบูชีรีเป็นอาหรับแม่เป็นชาวโอโรโม[1] การก่อจลาจลกระจายเร็วตามชายฝั่งจากเมืองแทนกา (Tanga) ในตอนเหนือถึงเมืองลินดี (Lindi) และ มิคินดานี (Mikindani) ในตอนใต้ ผู้แทนของบริษัทเยอรมันแอฟริกาตะวันออกถูกขับไล่หรือฆ่าตาย ยกเว้นองค์กรในเมืองบากาโมโย (Bagamoyo) และดาร์อีสซาลาม (Dar es Salaam)

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2431 นายกรัฐมนตรีเยอรมัน ออทโท ฟอน บิสมาร์ค ได้เข้าแทรกแซงและแต่งตั้งร้อยโทเฮอร์มันน์ วิสส์มันน์ (Hermann Wissmann) เป็น Reichskommissar (ข้าหลวง) แห่งเยอรมันแอฟริกาตะวันออก วิสส์มันน์รวมกำลัง Schutztruppe (กองกำลังทหารแอฟริกาในอาณานิคมจักรวรรดิเยอรมัน) ของนายทหารเยอรมันและทหารอัสคารีพื้นเมืองที่ได้รับสนับสนุนโดยกองทัพเรือและอังกฤษตามลำดับเพื่อปราบกบฏ

ภายหลังอาบูชีรีถูกจับได้ในการต่อสู้ที่เมืองมอมบาซา เขาถูกตัดสินประหารชีวิตโดยศาลอาญาศึกให้แขวนคอประจานที่เมืองบังกานี (Pangani) ตามข้อตกลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433 บริษัทแอฟริกาตะวันออกมอบการบริหารการปกครองแทนกันยีกาให้แก่รัฐบาลเยอรมัน พ.ศ. 2434 วิสส์มันน์จึงรายงานกลับไปยังเบอร์ลินว่าปราบกบฏเสร็จสิ้น