กรณีการรักษาแอชลีย์

กรณีการรักษาแอชลีย์ (อังกฤษ: Ashley Treatment) เป็นชุดการรักษาและการปฏิบัติการทางการแพทย์ที่เป็นที่ถกเถียง ซึ่งกระทำเพื่อเป็นการรักษาเด็กชาวอเมริกันในชื่อ "แอชลีย์ เอ็กซ์" (Ashley X) ผู้เกิดเมื่อปี 1997 และมีอาการความผิดปกติทางพัฒนาการแต่กำเนิดอันเนื่องมาจากเอเซฟาโลพาธี เป็นที่สรุปว่าเธอมีระดับจิตใจและสมองเทียบเท่าเด็กทารก แต่ยังคงเติบโตในทางกายภาพ ชุดการรักษาทางการแพทย์ที่จะกระทำต่อแอชลีย์ได้แก่การชะลอการเติบโตของร่างกาย ผ่านการให้เอสโตรเจนในระดับสูง, การตัดมดลูก, การตัดเต้านมทั้งสองข้าง และ การตัดไส้ติ่ง[1] ในเดือนมิถุนายน 2016 หรือ 18 ปีนับจากการพยายามทำความเข้าใจอาการของเธอ อาการของแอชลีย์ได้รับการประเมินว่าเกิดขากสาเหตุแบบ เดอโนโว (de novo; ไม่ได้เกิดจากการถ่ายทอด หรือกล่าวได้ว่าเกิดจากมิวเทชัน) และพบพอลีมอร์ฟิสม์ชนิดนิวคลีโอไทด์เดี่ยวแบบไม่ใช่โมเสก (non-mosaic Single-nucleotide polymorphism) ของยีน GRIN1[2] ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสื่อประสาทชุดการรักษาที่ดำเนินไปนั้นมีเพื่อพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของแอชลีย์ผ่านการจำกัดการเติบโตทางกาย การขจัดความปวดจากประจำเดือนและการไหลของประจำเดือน รวมถึงป้องกันความรู้สึกไม่สบายกายจากหน้าอกที่โต ชุดการรักษาเหล่านี้เป็นที่สนใจในวงกว้างถึงแง่มุมของจริยธรรมในช่วงต้นปี 2007 ซึ่งมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและต่อต้าน[3]ผู้ปกครองของแอชลีย์ให้สัมภาษณ์ครั้งแรกผ่านทางการเขียนกับซีเอ็นเอ็น เฮลธ์ในเดือนมีนาคม 2008[4]และอีกครั้งกับ เดอะการ์เดียน ในเดือนมีนาคม 2012[5]

กรณีการรักษาแอชลีย์

เกิด ค.ศ. 1997 (อายุ 23–24 ปี)
แถบซีแอทเทิล

ใกล้เคียง

กรณีการตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร กรณีการเผยแพร่วีดิทัศน์บันทึกภาพโฟร์-มดขณะอาบน้ำ กรณีการรักษาแอชลีย์ กรณีการเรียกร้องให้บัญญัติคำว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยไว้ในรัฐธรรมนูญ กรณีกลิวิซ กรณีการเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา กรณีพิพาทอินโดจีน กรณีตากใบ กรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล