กรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล
กรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล

กรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล

กรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล หรือรู้จักในญี่ปุ่นว่า กรณีพิพาทดินแดนตอนเหนือ เป็นกรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตระหว่างญี่ปุ่นกับรัสเซียเหนือเกาะตอนใต้สุดของหมู่เกาะคูริล 4 เกาะ ได้แก่ เกาะอีตูรุป เกาะคูนาชีร์ เกาะชิโกตัน และเกาะฮาโบไม หมู่เกาะคูริลเป็นกลุ่มเกาะที่วางตัวระหว่างเกาะฮกไกโดของญี่ปุ่นกับคาบสมุทรคัมชัตคาของรัสเซีย หมู่เกาะนี้แยกทะเลโอค็อตสค์จากมหาสมุทรแปซิฟิก เกาะที่พิพาท 4 เกาะรวมถึงเกาะอื่น ๆ ของหมู่เกาะคูริลถูกผนวกโดยสหภาพโซเวียตในการบุกครองหมู่เกาะคูริลเมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ปัจจุบันเกาะเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของเขตยุจโน-คูริลสกี (Yuzhno-Kurilsky) แคว้นซาฮาลินของรัสเซีย ขณะที่ญี่ปุ่นอ้างสิทธิ์โดยเรียกเกาะเหล่านี้ว่าดินแดนตอนเหนือ (Northern Territories) หรือชิชิมะตอนใต้ (Southern Chishima) และถือเป็นส่วนหนึ่งของกิ่งจังหวัดเนมูโระ จังหวัดฮกไกโดของตนสนธิสัญญาซานฟรานซิสโก[1] ที่ลงนามระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตร (ยกเว้นสหภาพโซเวียต) กับญี่ปุ่นในค.ศ. 1951 ระบุให้ญี่ปุ่นต้องสละ "สิทธิ ตำแหน่ง และการอ้างสิทธิ์เหนือหมู่เกาะคูริล"[2] แต่กระนั้นสนธิสัญญาไม่ได้ยอมรับอำนาจอธิปไตยของสหภาพโซเวียตเหนือหมู่เกาะนี้[3] ญี่ปุ่นกล่าวอ้างว่าอย่างน้อยบางส่วนของเกาะพิพาทไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะคูริล จึงไม่ได้อยู่ใต้ความครอบคลุมของสนธิสัญญาซานฟรานซิสโก[4] ด้านรัสเซียยืนกรานว่าอำนาจอธิปไตยของสหภาพโซเวียตเหนือหมู่เกาะได้รับการยอมรับด้วยความตกลงหลังสงคราม[5] ญี่ปุ่นและสหภาพโซเวียตยุติภาวะสงครามอย่างเป็นทางการเมื่อมีการลงนามคำประกาศร่วมโซเวียต–ญี่ปุ่น ค.ศ. 1956 แต่ไม่มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพหลังจากนั้น ระหว่างการหารือเพื่อนำไปสู่คำประกาศร่วม สหภาพโซเวียตเสนอสองเกาะเล็กคือชิโกตันและฮาโบไมแลกกับการให้ญี่ปุ่นเลิกอ้างสิทธิ์เหนือสองเกาะใหญ่คืออีตูรุปและคูนาชีร์ แต่ญี่ปุ่นปฏิเสธข้อเสนอ ความไม่ลงรอยในข้อเสนอของสหภาพโซเวียตและการเรียกร้องให้คืนเกาะของญี่ปุ่นกลายเป็นหมุดหมายของข้อพิพาทที่ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน[6]

ใกล้เคียง

กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา กรณีพิพาทอินโดจีน กรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล กรณีพิพาทอโยธยา กรณีพิพาทกู่เต็งนาโย่ง กรณีพิพาทหมู่เกาะเซ็งกากุ กรณีพิพาทชื่อทะเลญี่ปุ่น กรณีพิพาทเปดราบรังกา กรณีพิพาทกัศมีร์ กรณีพิพาทกุญแจเข้ารหัสเอเอซีเอส