สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก
สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก

สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก

สนธิสัญญาสันติภาพกับญี่ปุ่น หรือ สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก (อังกฤษ: Treaty of San Francisco; ฝรั่งเศส: Traité de paix avec le Japon; ญี่ปุ่น: 日本国との平和条約, 日本国との平和条約, โรมะจิ Nihon-koku tono Heiwa-Jōyaku, นิฮงโกะกุโทะโนะเฮวะโจยะกุ) (8 กันยายน พ.ศ. 2494) เป็นสนธิสัญญาที่นำไปสู่การยุติสงครามระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศร่วมลงนามในสัญญาอีก 49 ประเทศ ประเทศต่างๆ เหล่านี้ได้แก่ประเทศที่ได้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น ยกเว้นรัสเซีย จีนไต้หวันและจีนแผ่นดินใหญ่และประเทศอื่นเคยอยู่ในการยึดครองของญี่ปุ่นระหว่างสงคราม ที่ประกาศตั้งเป็นรัฐใหม่หลังการประกาศยอมแพ้ของญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2488สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก เป็นสัญญาที่นำไปสู่การยุติการยึดครองประเทศญี่ปุ่นของประเทศต่าง ๆ หลังการยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข และเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการรับญี่ปุ่นเข้าร่วมกับประชาคมโลกในฐานะเท่าเทียมกันอีกครั้งหนึ่ง มีดังนี้ประเทศที่เข้าร่วมประชุม อาร์เจนตินา, ออสเตรเลีย, เบลเยียม, โบลิเวีย, บราซิล, กัมพูชา, แคนาดา, ชิลี, โคลอมเบีย, คอสตาริกา, คิวบา, เชโกสโลวาเกีย, ดอมินีกา, เอกวาดอร์, อียิปต์, เอลซัลวาดอร์, เอธิโอเปีย, ฝรั่งเศส, กรีซ, กัวเตมาลา, เฮติ, ฮอนดูรัส, อินโดนีเซีย, อิหร่าน, อิรัก, ลาว, เลบานอน, ไลบีเรีย, ลักเซมเบิร์ก, เม็กซิโก, เนเธอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, นิการากัว, ฟิลิปปินส์, โปแลนด์, ซาอุดีอาระเบีย, สหภาพโซเวียต, ศรีลังกา, แอฟริกาใต้, ซีเรีย, ตุรกี, สหราชอาณาจักร, สหรัฐ, อุรุกวัย, เวเนซุเอลา, เวียดนาม และญี่ปุ่นพม่า, อินเดีย และยูโกสลาเวีย ได้รับการเชิญแต่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม เกาหลีใต้ไม่ได้รับการเชิญเนื่องจากไม่ได้รับการยอมรับเป็นสัมพันธมิตรรวมทั้งประเทศไทย จีน ไต้หวัน และจีนแผ่นดินใหญ่ก็ไม่ได้รับการเชิญเนื่องจากอยู่ระหว่างสงครามกลางเมือง ยังไม่สามารถตัดสินว่าใครจะเป็นตัวแทนประเทศที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาอึลซา