กรณีพิพาทเปดราบรังกา
กรณีพิพาทเปดราบรังกา

กรณีพิพาทเปดราบรังกา

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งกรณีพิพาทเปดราบรังกาเป็นกรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตระหว่างประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซียเหนือเกาะเล็กหลายเกาะ ณ ปากทางเข้าทิศตะวันออกของช่องแคบสิงคโปร์ อันประกอบด้วยเปดราบรังกา (Pedra Branca) หรือเดิมมาเลเซียเรียก ปูเลาบาตูปูเตะฮ์ (Pulau Batu Puteh) และปัจจุบันเรียก บาตูปูเตะฮ์ (Batu Puteh), มิดเดิลร็อกส์ (Middle Rocks) และเซาท์เลดจ์ (South Ledge) กรณีพิพาทเริ่มต้นในปี 1979 และส่วนใหญ่ระงับโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ในปี 2008 ซึ่งวินิจฉัยว่าเปดราบรังกาเป็นของสิงคโปร์ และมิดเดิลร็อกส์เป็นของมาเลเซียต้นปี 1980 สิงคโปร์ยื่นคำประท้วงอย่างเป็นทางการต่อมาเลเซียโดยสนองต่อแผนที่ซึ่งมาเลเซียจัดพิมพ์ในปี 1979 โดยอ้างสิทธิเหนือเปดราบรังกา ในปี 1989 สิงคโปร์เสนอให้ยื่นข้อพิพาทต่อ ICJ มาเลเซียตกลงในปี 1994 ก่อนหน้านั้นในปี 1993 สิงคโปร์ยังอ้างสิทธิ์เหนือเกาะเล็กใกล้เคียงมิดเดิลร็อกส์และเซาท์เลดจ์ด้วย ในปี 1998 สองประเทศตกลงในข้อความของความตกลงพิเศษซึ่งมีความจำเป็นต่อการส่งข้อพิพาทไปยัง ICJ มีการลงนามความตกลงพิเศษในเดือนกุมภาพันธ์ 2003 และ ICJ ได้รับแจ้งความความตกลงฯ อย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน มีการจัดการไต่สวน ณ ICJ เป็นเวลาสามสัปดาห์ในเดือนพฤศจิกายน 2007สิงคโปร์โต้แย้งว่าเปดราบรังกาเป็นดินแดนที่ไม่มีเจ้าของ และไม่มีหลักฐานว่าเกาะเคยอยู่ภายใต้อธิปไตยของรัฐสุลต่านยะโฮร์ หากว่าศาลฯ ไม่ยอมรับข้อโต้แย้งนี้ สิงคโปร์ต่อสู้ว่าอธิปไตยเหนือเกาะได้ส่งมอบให้แก่สิงคโปร์เนื่องจากสิงคโปร์และเจ้าอาณานิคมคือสหราชอาณาจักรใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอย่างต่อเนื่องเหนือเกาะ การกระทำรวมถึงการเลือกเปดราบรังกาเป็นที่ตั้งประภาคารฮอร์สเบิร์ก (Horsburgh) และการก่อสร้างประภาคาร การกำหนดให้ข้าราชการมาเลเซียที่ประสงค์เยี่ยมเกาะต้องขอใบอนุญาต การติดตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณทหารบนเกาะ และการศึกษาโอกาสการถมดินรอบเกาะ มาเลเซียยังคงเงียบเมื่อเผชิญกับกิจกรรมเหล่านี้ นอกจากนี้ มาเลเซียยังยืนยันในจดหมายปี 1953 ว่ายะโฮร์ไม่ได้อ้างความเป็นเจ้าของเกาะ และจัดพิมพ์รายงานและแผนที่ทางการถือว่าเปดราบรังกาเป็นดินแดนของสิงคโปร์ มิดเดิลร็อกส์และเซาท์เลดจ์ควรถือเป็นเขตสังกัดของเปดราบรังกาข้อต่อสู้คดีของมาเลเซียมีว่ายะโฮร์ตั้งชื่อเดิมแก่เปดราบรังกา มิดเดิลร็อกส์และเซาท์เลดจ์ ยะโฮร์มิได้ยกเปดราบรังกาให้แก่สหราชอาณาจักร เพียงแต่อนุญาตให้สร้างและบำรุงรักษาประภาคารบนเกาะเท่านั้น การกระทำของสหราชอาณาจักรและสิงคโปร์เกี่ยวกับประภาคารฮอร์สเบิร์กและน่านน้ำโดยรอบเกาะมิใช่การกระทำขององค์อธิปัตย์ของเกาะ ยิ่งไปกว่านั้น จดหมายปี 1953 ไม่ได้รับอนุญาต และรายงานและแผนที่ทางการที่ออกในจดหมายดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องหรือไม่มีข้อสรุปวันที่ 23 พฤษภาคม 2008 ศาลฯ วินิจฉัยว่าเปดราบรังกาอยู่ในอธิปไตยของสิงคโปร์ ส่วนมิดเดิลร็อกส์เป็นของมาเลเซีย สำหรับเซาท์เลดจ์นั้น ศาลฯ สังเกตว่าเกาะอยู่ในน่านน้ำอาณาเขตที่ดูทับซ้อนกันโดยเกิดจากมาเลเซียแผ่นดินใหญ่ เปดราบรังกาและมิดเดิลร็อกส์ เนื่องจากเกาะดังกล่าวมองเห็นได้เฉพาะเมื่อน้ำลงต่ำเท่านั้น เกาะจึงเป็นของรัฐซึ่งเป็นเจ้าของน่านน้ำอาณาเขตบริเวณนั้น มาเลเซียและสิงคโปร์ตั้งคณะกรรมการเทคนิคร่วมเพื่อปักปันเขตแดนทางทะเลในพื้นที่โดยรอบเปดราบรังกาและมิดเดิลร็กอส์ และเพื่อตัดสินความเป็นเจ้าของเซาท์เลดจ์

กรณีพิพาทเปดราบรังกา

ตุลาการ Awn Shawkat Al-Khasawneh, Raymond Ranjeva, Shi Jiuyong, Abdul G. Koroma, Gonzalo Parra Aranguren, Thomas Buergenthal, Hisashi Owada, Bruno Simma, Peter Tomka, Ronny Abraham, Kenneth Keith, Bernardo Sepúlveda Amor, Mohamed Bennouna, Leonid Skotnikov, Pemmaraju Sreenivasa Rao (ad hoc judge appointed by Singapore) and Christopher J.R. Dugard (ad hoc judge appointed by Malaysia)
ศาล ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
กฎหมาย
ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2008
ผู้ขอ ความตกลงพิเศษระหว่างมาเลเซียและสิงคโปร์
ข้อพิพาท ให้ศาลฯ ตัดสินว่าอธิปไตยเหนือ (ก) เปดราบรังกา/ปูเลาบาตูปูเตะฮ์ (ข) มิดเดิลร็อกส์ และ (ค) เซาท์เลดจ์ เป็นของมาเลเซียหรือสาธารณรัฐสิงคโปร์

ใกล้เคียง

กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา กรณีพิพาทอินโดจีน กรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล กรณีพิพาทอโยธยา กรณีพิพาทกู่เต็งนาโย่ง กรณีพิพาทชื่อทะเลญี่ปุ่น กรณีพิพาทหมู่เกาะเซ็งกากุ กรณีพิพาทกัศมีร์ กรณีพิพาทเปดราบรังกา กรณีพิพาทกุญแจเข้ารหัสเอเอซีเอส