คำพิพากษา ของ กรณีพิพาทเปดราบรังกา

ประเด็นสำคัญในการพิพากษาของศาลโลกนั้น เห็นว่าสนธิสัญญา พ.ศ. 2367 กำหนดให้เปดราบรังกาอยู่ในเขตของอังกฤษ ต่อมาในจดหมายตอบโต้ระหว่างรัฐมนตรีอาณานิคมแห่งสิงคโปร์กับสุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์เมื่อ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2496 ว่าเปดราบรังกาอยู่ในอาณาเขตของฝ่ายใด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของรัฐยะโฮร์ตอบกลับเมื่อ 21 กันยายน พ.ศ. 2496 ว่ายะโฮร์ไม่ได้อ้างสิทธิเหนือเปดราบรังกา หลังจากนั้น พฤติการณ์ของมาเลเซียได้แสดงให้เห็นว่ายอมรับอธิปไตยเหนือเปดราบรังกา เช่น มาเลเซียขออนุญาตสิงคโปร์เข้าไปสำรวจน่านน้ำในเปดราบรังกา และในราว พ.ศ. 2513 สิงคโปร์ประกาศถมทะเลรอบเกาะ ได้มีประกาศให้บริษัทเอกชนเข้ามาประมูลอย่างเปิดเผย มาเลเซียมิได้ประท้วง นอกจากนั้น แผนที่ที่ตีพิมพ์ในมาเลเซียระหว่าง พ.ศ. 2505 – 2518 ยอมรับว่าเปดราบรังกาอยู่ในสิงคโปร์ จึงตัดสินว่าเปดราบรังกาเป็นของสิงคโปร์

ใกล้เคียง

กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา กรณีพิพาทอินโดจีน กรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล กรณีพิพาทอโยธยา กรณีพิพาทกู่เต็งนาโย่ง กรณีพิพาทชื่อทะเลญี่ปุ่น กรณีพิพาทหมู่เกาะเซ็งกากุ กรณีพิพาทกัศมีร์ กรณีพิพาทเปดราบรังกา กรณีพิพาทกุญแจเข้ารหัสเอเอซีเอส