การเผยแพร่สิ่งบันทึกวีดิทัศน์ ของ กรณีสิ่งบันทึกวีดิทัศน์ศาลรัฐธรรมนูญ_พ.ศ._2553

กลางเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 อภิชาต สุขัคคานนท์ นายทะเบียนพรรคการเมือง ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้มีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นฝ่ายรัฐบาลอยู่ในขณะนั้น ต่อมา วันที่ 27 กันยายน 2553 จตุพร พรหมพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย อันเป็นพรรคฝ่ายค้าน และสมาชิก นปช. ได้แถลงข่าวว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม โดยตนมีหลักฐานเป็นสิ่งบันทึกวีดิทัศน์ ที่ "...เปิดออกมาเมื่อไร เป็นเรื่องใหญ่ที่คนไทยทั้งชาติจะช็อค [ตกตะลึง] กันทั้งประเทศ..."[1]

วันที่ 15 ตุลาคม 2553 พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ได้เปิดเผยว่า มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสมาชิกของผู้ถูกร้อง อักษรย่อของชื่อว่า "ว" ได้นัดพบกับคนสนิทของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อักษรย่อของชื่อว่า "พ" เพื่อวิ่งเต้นให้ช่วยเหลือคดีนี้[2] วันถัดมาก็แถลงข่าวว่า วันรุ่งขึ้นตนจะนำสิ่งบันทึกวีดิทัศน์การนัดพบดังกล่าวมาแสดง พร้อมยืนยันว่าไม่ได้อุปโลกน์หรือตัดต่อแต่ประการใด[3] ครั้นวันที่ 17 ตุลาคม 2553 พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ แถลงข่าว ณ ที่ทำการพรรคเพื่อไทย เปิดสิ่งบันทึกวีดิทัศน์ต่อสื่อมวลชน มีความยาวสิบนาที มีเนื้อหาดังนี้[4] [5]

  1. ตอนหนึ่งเป็นภาพเคลื่อนไหวและเสียงเกี่ยวกับ วิรัช ร่มเย็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระนอง ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และ วรวุฒิ นวโภคิน ปรึกษากรรมาธิการการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สภาผู้แทนราษฎร กำลังรับประทานอาหารและสนทนากับ พสิษฐ์ ศักดาณรงค์ เลขานุการของ ชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ร้องขอให้ช่วยเหลือทางคดี
  2. อีกตอนหนึ่ง เป็นภาพเคลื่อนไหวและเสียงบันทึกในห้องประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับการประชุมปรึกษากันของตุลาการในเรื่องคดีนี้ โดยตุลาการที่ปรากฏในตอนดังกล่าว ประกอบด้วย จรัญ ภักดีธนากุล, จรูญ อินทจาร, บุญส่ง กุลบุปผา, สุพจน์ ไขมุกด์ และอุดมศักดิ์ นิติมนตรี
  3. อีกตอนหนึ่ง เป็นภาพเคลื่อนไหวและเสียงเกี่ยวกับ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี นั่งอยู่กับ ชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ แสดงให้เข้าใจว่า พลเอกเปรมร้องขอให้ช่วยเหลือพรรคประชาธิปัตย์ในคดีนี้

สิ่งบันทึกวีดิทัศน์ดังกล่าว ได้รับการเผยแพร่ในเว็บไซต์ยูทูบ และภายในเวลาอันสั้น จำนวนผู้เข้าชมเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว[4]

ใกล้เคียง

กรณีสิ่งบันทึกวีดิทัศน์ศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2553 กรณีสีน้ำเงิน กรณีสวรรคต รัชกาลที่ 8 พ.ศ. 2489 กรณีสีขาว กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา กรณีพิพาทอินโดจีน กรีสซี คาเฟ กรณีการตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร กรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล กรณีตากใบ

แหล่งที่มา

WikiPedia: กรณีสิ่งบันทึกวีดิทัศน์ศาลรัฐธรรมนูญ_พ.ศ._2553 http://www.nationmultimedia.com/home/2010/10/18/po... http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%... http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%... http://www.posttoday.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%... http://www.posttoday.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%... http://www.posttoday.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%... http://www.posttoday.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%... http://www.posttoday.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%... http://www.posttoday.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%... http://www.posttoday.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%...