กรดอุสนิก
กรดอุสนิก

กรดอุสนิก

204 °C, 477 K, 399 °F กรดอุสนิก (Usnic acid) เป็นอนุพันธ์ของไดเบนโซฟูแรนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่งพบได้ในไลเคนหลายชนิด โดยมีสูตรเคมี C18H16O7 ถูกแยกได้ครั้งแรกโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน วิลเฮ็ล์ม คนอป (Wilhelm Knop) ใน พ.ศ. 2387[1] และสังเคราะห์ได้ครั้งแรกช่วงระหว่าง พ.ศ. 2476–2480 โดย แฟรงก์ เคิร์ด (Frank H. Curd) และอเล็กซานเดอร์ โรเบิร์ตสัน (Alexander Robertson)[2] กรดอุสนิกพบในไลเคนหลายสกุลได้แก่สกุล Usnea, Cladonia, Hypotrachyna, Lecanora, Ramalina, Evernia, Parmelia และ Alectoria แม้ว่าจะเชื่อกันโดยทั่วไปว่ากรดอุสนิกนั้นพบเฉพาะในไลเคน แต่ในบางกรณีที่ไม่ได้รับการยืนยันรายงานว่าแยกสารประกอบนี้ได้ในชาหมักคอมบูชาและราในชั้น Ascomycetes ที่ไม่ใช่ฟังไจในไลเคน[3][4]ในสภาวะปกติ กรดอุสนิกเป็นสารที่มีรสขม มีสีเหลือง และเป็นของแข็ง[5] ทราบกันว่าเกิดขึ้นในธรรมชาติทั้งในรูปของดี (D-form) และรูปของแอล (L-form) และเป็นสารผสมราซีมิก เกลือของกรดอุสนิกเรียกว่า อุสเนต เช่น คอปเปอร์อุสเนต (copper usnate)