ความแตกต่างจากกระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาสูง ของ กระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำ

ตัวอย่างกระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำและสูง และปริมาณของเหลวโดยเฉลี่ยที่เหลืออยู่หลังจากลูกสูบถูกกดจนสุด

ความแตกต่างระหว่างกระบอกฉีดยาชนิด high dead space syringe (HDSS) และ low dead space syringe ถูกกำหนดโดยปริมาณเฉลี่ยของของเหลวที่ไม่สามารถขับออกจากอุปกรณ์ได้ แม้ว่าจะไม่มีมาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับกระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำ แต่ก็เป็นรูปแบบเข็มฉีดยาหรือกระบอกฉีดยาที่เบี่ยงเบนไปจากการออกแบบเข็มและกระบอกฉีดยามาตรฐานโดยมีการลดพื้นที่ที่ยาสามารถคงค้างในกระบอกฉีดภายหลังการใช้งานลง[1]

เมื่อเปรียบเทียบกับ low dead space syringe กระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาสูง หมายถึงการออกแบบเข็มและกระบอกฉีดยาแบบธรรมดา คำว่า "high dead space" หมายถึงของเหลวที่เหลืออยู่ภายในเข็มและระหว่างด้ามเข็มที่สวมติดกับปลายกระบอกฉีดยากับลูกสูบ ช่องนี้ในกระบอกฉีดยาทั่วไปมีปริมาตรได้สูงถึง 84 ไมโครลิตร[2] กระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาสูงแบบธรรมดา เริ่มมีมาตั้งแต่การผลิตเข็มฉีดยาพลาสติกที่มีเข็มถอดออกได้ในปี พ.ศ. 2504[3]

ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ที่ยาคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาในกระบอกฉีดยา ได้แก่ การสิ้นเปลืองยา[4] การแพร่กระจายของโรค[2] และการให้ยาที่ไม่ถูกต้อง[5] มีข้อมูลที่บ่งชี้ว่าการแพร่กระจายของโรคสำหรับผู้ที่ฉีดยาและเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบซีสามารถลดลงได้ด้วยการใช้กระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำ[6]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: กระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำ http://inventors.about.com/library/inventors/blsyr... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20528817 http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/75357/1/9... http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/77969/1/9... //dx.doi.org/10.1007%2Fs00259-012-2227-4 //dx.doi.org/10.1016%2Fj.drugalcdep.2018.07.041 //dx.doi.org/10.1016%2Fj.vaccine.2006.02.056 //dx.doi.org/10.1093%2Fjhmas%2Fii.2.201 http://www.worldcat.org/issn/0955-3959 http://www.worldcat.org/issn/0965-2140