ประวัติการออกแบบเข็มและกระบอกฉีดยา ของ กระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำ

นายแพทย์ อเล็กซานเดอร์ วูด (Alexander Wood) ได้เริ่มใช้เข็มฉีดยาใต้ผิวหนังเป็นครั้งแรกและทำให้มีความพยายามปรับปรุงการออกแบบในทันที จนกระทั่งปี พ.ศ. 2497 ด้วยความจำเป็นในการกระจายกระบอกฉีดยาจำนวนมากสำหรับการฉีดวัคซีนโปลิโอของโจนัส ซอร์ก (Jonas Salk) จึงได้มีการสร้างเข็มฉีดยาแบบใช้แล้วทิ้งครั้งแรก โดยเริ่มแรกกระบอกฉีดยาทำจากแก้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 มีการใช้กระบอกฉีดยาพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง[7] การพัฒนากระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำมีขึ้นครั้งแรกพร้อมกับการสร้างเข็มฉีดยาขนาด 1 มิลลิลิตรสำหรับการฉีดอินซูลิน จากนั้นท่ามกลางภาวะความหวาดกลัวเอชไอวีและความกังวลที่เพิ่มขึ้นของโรคติดต่ออื่น ๆ ที่จะเกิดกับบุคลากรทางการแพทย์ การสร้างกระบอกฉีดยาที่มีความปลอดภัยมากขึ้นจึงเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2531 ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการออกแบบใหม่โดยใช้เข็มที่มีปริมาณคงค้างต่ำสวมเข้าพอดีกับกระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างสูง ทำให้เปลี่ยนรูปแบบเป็นกระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำ งานออกแบบชิ้นหนึ่งทำโดยการสร้างลูกสูบที่มีปลายสอดเข้าไปในคอกระบอกฉีดยาเพื่อขับของเหลวออกจากตัวกระบอกฉีดยาให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ซึ่งจะช่วยลดพื้นที่ว่างภายในคอของกระบอก

การออกแบบต่าง ๆ ของกระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำ

เข็มมาตรฐานชนิดปริมาณคงค้างสูงกับกระบอกฉีดยาที่มีปลายลูกสูบยื่นออกกระบอกฉีดอินซูลิน ขนาด 1 มิลลิลิตรกระบอกฉีดยามาตรฐานชนิดปริมาณคงค้างสูงกับเข็มชนิดปริมาณคงค้างต่ำ

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: กระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำ http://inventors.about.com/library/inventors/blsyr... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20528817 http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/75357/1/9... http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/77969/1/9... //dx.doi.org/10.1007%2Fs00259-012-2227-4 //dx.doi.org/10.1016%2Fj.drugalcdep.2018.07.041 //dx.doi.org/10.1016%2Fj.vaccine.2006.02.056 //dx.doi.org/10.1093%2Fjhmas%2Fii.2.201 http://www.worldcat.org/issn/0955-3959 http://www.worldcat.org/issn/0965-2140