การประยุกต์ใช้งาน ของ กระแสฟูโก

เบรกแม่เหล็กไฟฟ้า

บทความหลัก: เบรกด้วยกระแสวน

แรงเบรกที่เกิดจากกระแสวนในแผ่นโลหะที่กำลังเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กภายนอก

กระแสวนถูกนำไปใช้ในการเบรก; เนื่องจากไม่มีการติดต่อกับผ้าเบรกหรือจานเบรก จึงไม่มีการสึกหรอของกลไก อย่างไรก็ตามเบรกด้วยกระแสวนไม่สามารถ "รักษา" แรงบิดเอาไว้ได้นาน ดังนั้นมันจึงอาจจะใช้ร่วมกับระบบเบรกแบบกลไกธรรมดาได้ เช่นบนรถเครนเหนือหัว การประยุกต์ใช้อีกอย่างก็คือในรถไฟเหาะบางชนิด ที่แผ่นทองแดงหนักที่ยื่นออกมาจากตัวรถจะถูกเคลื่อนที่ระหว่างคู่ของแม่เหล็กถาวรที่มีสนามแข็งแกร่งมาก ความต้านทานไฟฟ้า ภายในของแผ่นทองแดงทำให้เกิดแรงหน่วงคล้ายกับเป็นแรงเสียดทาน ซึ่งกระจายพลังงานจลน์ของรถ เทคนิคเดียวกันนี้จะใช้ในเบรกแม่เหล็กไฟฟ้าในรถยนต์ที่วิ่งบนรางและเพื่อหยุดได้อย่างรวดเร็วของใบมีดในเครื่องมือไฟฟ้าเช่นเลื่อยวงกลม โดยใช้แม่เหล็กไฟฟ้าเมื่อตรงข้ามกับแม่เหล็กถาวร, ความแข็งแรงของสนามแม่เหล็กสามารถปรับเปลี่ยนได้และขนาดของกระแสวนก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้

แรงผลักและแรงยก

บทความหลัก: การแขวนลอยด้วยไฟฟ้าพลศาสตร์

ภาคตัดขวางของมอเตอร์เชิงเส้นที่ถูกวางไว้ด้านบนของแผ่นอลูมิเนียมหนา เมื่อรูปแบบสนามของ มอเตอร์เหนี่ยวนำเชิงเส้น กวาดไปทางซ้าย กระแสวนจะถูกทิ้งไว้ข้างหลังในโลหะและนี้ทำให้เส้นสนามเอนเอียง

ในสนามแม่เหล็กที่แปรผัน กระแสเหนี่ยวนำจะแสดงออกถึงแรงผลักเหมือนแม่เหล็กสองขั้ว วัตถุที่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้าจะประสบกับแรงผลัก แรงผลักนี้สามารถยกวัตถ​​ุต้านแรงโน้มถ่วงแม้ว่าจะมีกำลังไฟฟ้​​าใส่ให้อย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะแทนที่พลังงานที่กระจายไปด้วยกระแสวน ตัวอย่างการประยุกต์ใช้คือการแยก กระป๋องอลูมิเนียม ออกจากโลหะอื่น ๆ ใน ตัวแยกด้วยกระแสวน โลหะที่มีส่วนผสมของเหล็กจะยึดติดกับแม่เหล็ก และอลูมิเนียม (และตัวนำไม่ใช่เหล็กอื่น ๆ) จะถูกบังคับให้ออกไปไกลจากแม่เหล็ก; นี้สามารถแยกน้ำเสียให้เป็นเศษโลหะที่มีเหล็กและอโลหะ

ด้วยแม่เหล็กที่แข็งแกร่งมากแบบที่มีด้ามจับ เช่นพวกที่ทำจาก นีโอดิเมียม เราสามารถสังเกตผลที่คล้ายกันมากโดยการกวาดแม่เหล็กอย่างรวดเร็วเหนือเหรียญที่วางแยกกันเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของแม่เหล็ก เอกลักษณ์ของเหรียญและการแยกระหว่างแม่เหล็กกับเหรียญ เราอาจเหนี่ยวนำเหรียญให้ถูกผลักดันไปอยู่หน้าของแม่เหล็กเล็กน้อย - แม้ว่าเหรียญจะไม่มีองค์ประกอบของแม่เหล็กก็ตามเช่นเหรียญเพนนีของสหรัฐ อีกตัวอย่างหนึ่งจะเกี่ยวข้องกับการหย่อนแม่เหล็กที่แข็งแกร่งลงท่อทองแดง[7] - แม่เหล็กจะตกลงช้ากว่าอย่างมาก

ในตัวนำที่ไม่มี ความต้านทานไฟฟ้า (ตัวนำยิ่งยวด) กระแสวนที่พื้นผิวจะกกหักล้างกับสนามภายในตัวนำ ดังนั้นมันจึงไม่มีสนามแม่เหล็กแทรกซึมเข้าไปในตัวนำ เนื่องจากไม่มีพลังงานจะสูญเสียไปในความต้านทาน กระแสวนที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อแม่เหล็กถูกนำมาอยู่ใกล้ตัวนำจะยังคงมีอยู่แม้ว่าหลังจากแม่เหล็กอยู่นิ่ง ๆ และสามารถรักษาความสมดุลของแรงโน้มถ่วงได้จริง ที่ช่วยให้เกิด การลอยด้วยแม่เหล็ก ตัวนำยิ่งยวดยังแสดงปรากฏการณ์ควอนตัมโดยเนื้อแท้แยกจากกันอีกด้วยที่เรียกว่า Meissner effect ในปรากฏการณ์นี้เส้นสนามแม่เหล็กใด ๆ ที่ปรากฏอยู่ในวัสดุเมื่อวัสดุกลายเป็นตัวนำยิ่งยวด เส้นสนามแม่เหล็กจะถูกผลักออก ดังนั้นสนามแม่เหล็กในตัวนำยิ่งยวดจึงเป็นศูนย์เสมอ

โดยใช้ แม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีสวิทชิ่งแบบอิเล็กทรอนิกส์เทียบได้กับ การควบคุมความเร็วด้วยอิเล็กทรอนิกส์ มันเป็นไปได้ในการสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เคลื่อนไหวได้ในทุกทิศทาง ตามที่ได้อธิบายไว้ในส่วนข้างบนเกี่ยวกับเบรกด้วยกระแสวน พื้นผิวตัวนำที่ไม่ใช่พวก ferromagnetic มีแนวโน้มที่จะอยู่เฉย ๆ ภายในสนามที่เคลื่อนไหวนี้ เมื่อสนามนี้มีการเคลื่อนไหวอย่างไรก็ตาม ยานพาหนะสามารถลอยและถูกขับเคลื่อนได้ นี่เทียบได้กับแม็กเลฟ แต่ไม่ได้ผูกติดกับราง[8]

ผลกระทบของแรงดูด

ในรูปทรงเรขาคณิตบางอย่าง แรงโดยรวมของกระแสวนสามารถดึงดูดได้ในจุดที่เส้นฟลักซ์วิ่งผ่าน 90 องศากับพื้นผิว กระแสที่เหนี่ยวนำในตัวนำที่อยู่ใกล้เคียงทำให้เกิดแรงที่ผลักดันตัวนำไปหาแม่เหล็กไฟฟ้า[9]

การระบุตัวตนของโลหะ

ใน เครื่องจำหน่าย แบบหยอดเหรียญ, กระแสวนถูกนำมาใช้ในการตรวจสอบเหรียญปลอม เหรียญจะไหลผ่านแม่เหล็กอยู่กับที่ และกระแสวนจะชะลอความเร็ว ความแข็งแกร่งของกระแสวน ซึ่งเป็นแรงต้าน ขึ้นอยู่กับการนำไฟฟ้าของเหรียญโลหะ เหรียญปลอมจะชะลอตัวลงในระดับที่แตกต่างจากเหรียญแท้ และนี้จะใช้ในการส่งพวกมันลงในช่องกำจัดออก

การตรวจจับการสั่นสะเทือนและตำแหน่ง

กระแสวนจะถูกใช้ในบางประเภทของ ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียง (อังกฤษ: proximity sensor) เพื่อสังเกตการสั่นสะเทือนและตำแหน่งของแบริ่งภายในเพลาหมุนของพวกมัน เทคโนโลยีนี้แต่เดิมถูกบุกเบิกในช่วงทศวรรษที่ 1930 โดยนักวิจัยที่บริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก โดยใช้วงจรหลอดสูญญากาศ ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1950 เวอร์ชั่นที่เป็นโซลิดเสตทได้รับการพัฒนาโดยนาย Donald E. Bently ที่ Bently Nevada คอร์ปอเรชั่น ตัวตรวจจับเหล่านี้มีความไวเป็นอย่างมากต่อการขยับเขยื้อนขนาดเล็กมากทำให้พวกมันเหมาะมากในการสังเกตการสั่นสะเทือนขนาดเล็ก (ขนาดหนึ่งในพันของนิ้ว) ใน turbomachinery สมัยใหม่ เซ็นเซอร์ความใกล้ชิดทั่วไปจะถูกใช้สำหรับการเฝ้าดูการสั่นสะเทือนที่มีขนาด 200 mV/mil การใช้อย่างแพร่หลายของเซ็นเซอร์ดังกล่าวใน turbomachinery ได้นำไปสู่​​การพัฒนามาตรฐานอุตสาหกรรมที่กำหนดประโยชน์และการประยุกต์ใช้ของพวกมัน ตัวอย่างของมาตรฐานดังกล่าวคือมาตรฐาน 670 ของ สถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน (API) และมาตรฐาน 7919 ของ ISO

ตัวรับรู้การเร่งความเร็วของรถเฟอร์รารี่ที่เรียกว่า Ferraris sensor เป็นเซ็นเซอร์แบบไร้จุดสัมผัสที่ใช้กระแสวนในการวัดอัตราเร่งสัมพันธ์[10][11][12]

การทดสอบโครงสร้าง

เทคนิคที่ใช้กระแสวนมักใช้สำหรับ การตรวจสอบแบบไม่ทำลาย (อังกฤษ: nondestructive examination (NDE)) และการเฝ้าดูสภาพของโครงสร้างโลหะที่หลากหลาย รวมทั้งท่อ แลกเปลี่ยนความร้อน ลำตัวเครื่องบินและส่วนประกอบโครงสร้างของเครื่องบิน

ผลข้างเคียง

กระแสวนเป็นสาเหตุรากของ skin effect ในตัวนำไฟฟ้าที่กระแส AC ไหลผ่าน

แผ่นบาง ๆ ของแกนแม่เหล็กในหม้อแปลงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างมากโดยการลดกระแสวนให้ต่ำสุด

ในทำนองเดียวกันในวัสดุแม่เหล็กที่มีการนำไฟฟ้าที่แน่นอน กระแสวนทำให้เกิดการคุมขังของสนามแม่เหล็กส่วนใหญ่ไว้ในความลึกเพียงแค่พื้นผิวของวัสดุ ผลกระทบนี้จะจำกัด ฟลักซ์เชื่อมโยง ใน ตัวเหนี่ยวนำ และ หม้อแปลง ที่มี แกนแม่เหล็ก

การประยุกต์ใช้อื่น ๆ

แหล่งที่มา

WikiPedia: กระแสฟูโก http://people.mech.kuleuven.be/~jwang/paper/ferrar... http://www.baumerhuebner.com/pdf/ferraris_accelera... http://www.cogelme.com/eng/e-eddy-current-metal-se... http://www.fischer-technology.com/en/us/coating-th... http://books.google.com/books?id=E8caSplsF28C&pg=P... http://books.google.com/books?id=ZvscLzOlkNgC&pg=P... http://books.google.com/books?id=mMJxcWqm_1oC&pg=P... http://books.google.com/books?id=6w5TAAAAMAAJ&q=fo... http://headrushtech.com/trublue-auto-belay/ http://headrushtech.com/zipstop-zip-line-brake