ภูมิหลัง ของ กฤษฎีกาพ็อทซ์ดัม

ในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1685 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ทรงตราพระราชกฤษฎีกาฟงแตนโบล ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนปิดโบสถ์และโรงเรียนของกลุ่มชาติพันธุ์อูว์เกอโนในฝรั่งเศสที่นับถือโปรเตสแตนต์ ราชสำนักฝรั่งเศสพยายามข่มขู่ให้พวกอูว์เกอโนเหล่านี้เปลี่ยนมานับถือคาทอลิก กฎหมายฉบับนี้ทำให้สถานการณ์กดขี่ชนกลุ่มน้อยทางศาสนาทวีความเลวร้ายขึ้นไปอีก ในสองทศวรรษต่อมา คาดการณ์กันว่ามีพวกอูว์เกอโนราว 210,000 ถึง 900,000 คนที่อพยพออกจากฝรั่งเศส

ดินแดนเยอรมันแถบลุ่มแม่น้ำไรน์ที่อยู่ภายใต้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ กำลังประสบวิกฤตการลดลงของประชากรกว่าหนึ่งในสาม ซึ่งเป็นผลจากภาวะข้าวยากหมากแพงและโรคระบาดในช่วงสงครามสามสิบปี (ค.ศ. 1618–1648)[1] ทางตะวันตกของบรันเดินบวร์ค-ปรัสเซียประสบภาวะล่มสลาย: ประชากรลดลงอย่างสาหัส, ความขาดแคลนแรงงานมีอยู่ไปทั่ว เรียกว่าเป็นยุคมืดในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 17

ใกล้เคียง

กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค กฤษฎีการะดมทหารอาสาสมัคร กฤษฎีกา กฤษฎีกาพ็อทซ์ดัม กฤษฎีกาสันติภาพ กฤษฎีกาแห่งเมืองนังทส์ กฤษดา สุโกศล แคลปป์ กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา กฤษฎา จีนะวิจารณะ กฤษฎา พรเวโรจน์