การจำแนกแบบของกลบท ของ กลบท

กลบทแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบเพิ่มลักษณะบังคับ และแบบซ่อนรูปคำประพันธ์

แบบเพิ่มลักษณะบังคับ

กลแบบนี้ถึงแม้จะมีการเพิ่มลักษณะบังคับ แต่รูปคำประพันธ์ยังคงเหมือนเดิม เรียกว่า กลอักษร ตัวอย่างเช่น

บังคับใช้พยัญชนะเสียงเดียวกันตลอดบาทและซ้ำคำสองคำแรกของทุกบาท

สรวลสรวลสู่โศกเศร้าแสนศัลย์
ตอกตอกแต่ตันตันติดต้อง
ยั่วยั่วย่อยยับยรร-ยงยาก
ครบครบเข็ญคามคล้องคลุกเคล้าขื่นขม
เลือดเนื้อเพื่อไทย

บังคับพยัญชนะ 2 เสียงสลับกันตลอดบท

สำเริงสำราญสานรักสมานสมัคร
สุมิตรสุมนสมัย
รุมเคียวเรี่ยวแรงใครเกี่ยวรำกำไร
ได้พูดได้พ้อโดยเพลง
เพื่อนแก้วคำกาพย์

บังคับซ้ำคำต้นวรรคและท้ายวรรคทุกวรรค

ริ้วรวงพวงข้าวริ้วเห็นพริ้วพริ้วริ้วทองเห็น
เย็นลมลมเช้าเย็นเรียวรวงเล่นระเนนเรียว
ข้าวปรังสั่งทุกข้าวเคียวจะน้าวด้วยชาวเคียว
เกลียวรักถักรัดเกลียวลงแขกเกี่ยวเร่งเคียวลง
เพื่อนแก้วคำกาพย์

แบบซ่อนรูปคำประพันธ์

ผู้แต่งจะจัดวางคำประพันธ์เป็นรูปต่างจากเดิม ผู้อ่านจะต้องทราบฉันทลักษณ์คำประพันธ์ชนิดนั้น จึงจะถอดคำอ่านได้ถูกต้อง กลชนิดนี้เรียก กลแบบ อาจมีทั้งการซ่อนรูปคำประพันธ์และการเพิ่มลักษณะบังคับด้วย เช่น

ซ่อนรูปคำประพันธ์

ถอด

เสียงนกเรียมคิดว้าหวั่นมิตร แม่เฮย
หวาดว่าเสียงสายจิตรแจ่มแจ้ว
โอ้อกนกนิ่งคิดใจหวั่น ถวิลแม่
ฟังหวาดแว่วเสียงแก้วจิตรร้องแจ้วเสียง
ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ

ซ่อนรูปคำประพันธ์ และเพิ่มลักษณะบังคับ

ถอด

พักตร์ผ่องผ่องพักตร์เพี้ยงจันทร
คมเนตรเนตรคมศรบาดซ้ำ
งามแง่แง่งามงอนมารยาท
งามศักดิ์ศักดิ์งามล้ำเลิศล้ำศักดิ์งาม
ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ

โคลงบทนี้นอกจากจะซ่อนรูปคำประพันธ์แล้วยังเพิ่มลักษณะบังคับให้ซ้ำคำต้นบาทและท้ายบาท ทุกบาทด้วย