กลยุทธ์หลี่ตายแทนถาว
กลยุทธ์หลี่ตายแทนถาว

กลยุทธ์หลี่ตายแทนถาว

กลยุทธ์หลี่ตายแทนถาว หรือ หลี่ไต้เถาเจียง (อังกฤษ: Sacrifice the plum tree to preserve the peach tree; จีน: 李代桃僵; พินอิน: Lǐ dài táo jiāng) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ที่เสียเปรียบในศึกสงคราม ซึ่งไม่เป็นผลดีแก่ตนเองและกองทัพ เกิดความเสียหายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อที่จะแปรเปลี่ยนจากสถานการณ์ที่เป็นฝ่ายเสียเปรียบให้เป็นการได้เปรียบ จำต้องยินยอมเสีย "มืด" เพื่อที่จะได้ประโยชน์จาก "สว่าง" โดยที่มาของชื่อกลยุทธ์ มาจากกวีนิพนธ์ชื่อ “ไก่ขัน” ใน “ชุมนุมกวีนิพนธ์กู่เล่อฝู่” ที่กล่าวว่า ต้นถาวเกิดที่ปากบ่อ ต้นหลี่โตเคียงมา หนอนบ่อนไชต้นถาว หลี่ตายแทนถาว ต้นไม้ยังตายแทนกัน พี่น้องไฉนไยจึงลืม [1][2][3]การเสืยมืดเพื่อให้ได้ประโยชน์จากสว่าง หมายความถึงการจะได้ประโยชน์จากการเสียเปรียบในสถานการณ์ขับคัน จำต้องเสียสละส่วนหนึ่งส่วนใดของกองทัพหรือของตนเอง เสียค่าตอบแทนเพียงเล็กน้อยเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับชัยชนะในทุก ๆ ด้าน ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์หลี่ตายแทนถาวไปใช้ได้แก่โจโฉที่ยอมเสียหัวของอองเฮานายทหารชั้นผู้น้อย เพื่อแลกกับขวัญและกำลังของทหารทั้งกองทัพ[4]

กลยุทธ์หลี่ตายแทนถาว

ประเภท กลยุทธ์เผชิญศึก
ผู้ต้องกลศึก อองเฮา
ผู้วางกลศึก โจโฉ
สถานที่ ลำหยง
ผลลัพธ์ โจโฉได้ขวัญและกำลังใจของทหารทั้งหมด
หลักการ ยอมเสียส่วนน้อย เพื่อรักษาส่วนใหญ่

ใกล้เคียง

กลยุทธ์ กลยุทธ์เชิงวิวัฒนาการ กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเล กลยุทธ์หลบหนี กลยุทธ์หลี่ตายแทนถาว กลยุทธ์ตีชิงตามไฟ กลยุทธ์ยืมซากคืนชีพ กลยุทธ์ตีหญ้าให้งูตื่น กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน กลยุทธ์ลอบตีเฉินชาง