กลอสซอพเทอริสในประเทศไทย ของ กลอสซอพเทอริส

ในประเทศไทยมีรายงานการค้นพบ กลอสซอพเทอริส แองกัสติฟอเลีย (Glossopteris angustifolia) ในหินดินดานสีดำที่คลองวังอ่าง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ บริเวณละติจูดที่ 15° 58 55 ลองกิจูดที่ 100° 58 36 ยุคเพอร์เมียน มีลักษณะใบไม่สมบูรณ์ส่วนฐานขาดหายไปแต่อาจมีลักษณะเป็นรูปเรียวแหลมคล้ายหลาว มีความยาว 42 มม. ส่วนกว้างที่สุด 11.5 มม. ขอบใบสอบแคบอย่างมากและอย่างต่อเนื่องไปทางส่วนปลายของใบ เส้นกลางใบหนาเห็นได้อย่างชัดเจนและต่อเนื่องไปจนถึงส่วนปลายสุดของใบ มีเส้นใบด้านข้างละเอียดมากและมีจำนวนมากแตกยื่นออกไปจากเส้นกลางใบทำมุมประมาณ 25 – 30 องศา และเชื่อมต่อซ้ำๆกันเกิดลักษณะเป็นร่างแห ช่องตาของร่างแหมีขนาดความกว้างประมาณเท่าๆกันและยาวยื่นออกไปในทิศทางขนานกับลักษณะทั่วไปของเส้นใบด้านข้าง ตาร่างแหเหล่านี้มีความยาวประมาณ 3 มม. กว้าง 1 มม. ถึงยาว 1.5 มม. กว้าง 1 มม. (Kon’no. 1963)