กวางรูซาชวา
กวางรูซาชวา

กวางรูซาชวา

กวางรูซาชวา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า กวางรูซา (อังกฤษ: Javan rusa;[2] ชื่อวิทยาศาสตร์: Rusa timorensis) เป็นกวางชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดที่เกาะชวาของอินโดนีเซีย ลักษณะโดยทั่วไป คือเป็นกวางขนาดกลาง ลำตัวมีสีน้ำตาลเหลือง-น้ำตาลเทา บริเวณใต้คอและใต้ท้องมีสีน้ำตาลอ่อน เพศเมียจะมีสีอ่อนกว่าเพศผู้ น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ของตัวผู้ประมาณ 120-160 กิโลกรัม ตัวเมีย 65-90 กิโลกรัม ความยาวรอบตัว 1.3-2.5 เมตร ความยาวหาง 10-30 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะมีความสูงเท่ากับ 110 เซนติเมตรและ 90 เซนติเมตรตามลำดับการจำแนกแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิดย่อย ดังนี้อุปนิสัยของกวางรูซาชวา มักอยู่เป็นฝูงใหญ่ในบริเวณป่าโปร่ง ทุ่งหญ้า ตามพุ่มไม้เมื่อต้องการพักผ่อนจะหลบไปซ่อนตัวในป่าทึบ ไม่ชอบพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง แยกฝูงตัวผู้ตัวเมีย ตัวผู้จะคุมฝูงเฉพาะฤดูผสมพันธุ์ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ที่มีศักดิ์สูงจะเข้าคุมฝูงและจัดตั้งฮาเร็มของตัวเอง แผดเสียงร้องดัง ส่งเสียงคำรามท้าทายตัวอื่น มีการต่อสู้แย่งชิงตัวเมียจนบางครั้งต่อสู้กันถึงตาย ระบบสังคมในฝูงของกวางตัวเมียที่มีอายุมากจะเป็นผู้นำภายในฝูงกวางรูซาชวาถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีการเพาะเลี้ยงกันในเชิงพาณิชย์ เพื่อเอาเขากวางอ่อน และเนื้อในการบริโภค นิยมเลี้ยงกันในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และไทย[3] [4]