การทำงาน ของ กษิต_ภิรมย์

การรับราชการ

นายกษิต ภิรมย์ เริ่มเข้ารับราชการที่ กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2511 ในฐานะข้าราชการชั้นผู้น้อยผ่านงานที่กรมองค์การระหว่างประเทศ กรมสารนิเทศ[5] ในปี พ.ศ. 2512 จึงได้รับตำแหน่ง เลขานุการตรี กองการเมือง กรมองค์การระหว่างประเทศ และเติบโตก้าวหน้าในราชการโดยได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นเลขานุการโทและเลขานุการเอกในหน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงการต่างประเทศ จากนั้นในปี พ.ศ. 2526 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นระดับผู้อำนวยการกอง โดยนายกษิตได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการกองต่าง ๆ ได้แก่ กองพาณิชย์และอุตสาหกรรม กรมอาเซียน, กองสนเทศเศรษฐกิจ กรมเศรษฐกิจ และกองนโยบายและวางแผน สำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และในปี พ.ศ. 2531 จึงเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจ และเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง (รับผิดชอบกิจการยุโรป) กระทรวงการต่างประเทศ หลังจากนั้น จึงได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2534[4][6]

หลังจากนั้น นายกษิต ภิรมย์ ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต ณ ต่างประเทศหลายแห่ง กระทั่งเกษียณ ในปี พ.ศ. 2548 ได้แก่

การดำรงตำแหน่งอื่น ๆ

นายกษิต ภิรมย์ ยังดำรงตำแหน่งอื่น ๆ เช่น[5]

  • ผู้แทนประจำประเทศไทย องค์กร Caux Round Table ส่งเสริมเรื่องธรรมาภิบาลและระบบทุนนิยมที่มีศีลธรรม
  • ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการวิสามัญ ยกร่างกฎหมายการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
  • อนุกรรมการสิทธิมนุษยชน คณะที่ 1
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยรังสิต จากการแต่งตั้งของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์

ด้านการเมือง

นายกษิต ภิรมย์ เริ่มเกี่ยวข้องกับการเมืองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2524 ระหว่างที่รับราชการ กระทรวงการต่างประเทศ โดยได้รับการทาบทามจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่มีความสนิทสนมกับครอบครัวของนายกษิต เนื่องจากนายสุเทพเป็นเพื่อนร่วมรุ่นคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ เอ๊ด ภิรมย์ น้องชายของนายกษิต เคยไปมาหาสู่รู้จักสนิทสนมกับทุกคนในครอบครัว “ภิรมย์” โดยในครั้งนั้นนายกษิตได้เข้าร่วมในคณะทำงานของ นายชวน หลีกภัย ขณะดำรงตำแหน่ง รมว.พาณิชย์ และ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่มี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นเลขานุการรัฐมนตรี โดยนายกษิตได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ดูแลการติดต่อกับต่างประเทศ และการต้อนรับบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ เช่น บรรดาทูตานุทูตต่างๆ

นายกษิต ภิรมย์ เป็นเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศที่ได้รับความเชื่อถือจาก นายชวน หลีกภัย อย่างต่อเนื่องปี 2537 นายกษิต ขณะดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ จาการ์ตาได้ต้อนรับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หลังจากนั้น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ติดต่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางการเมืองกับนายกษิต จนกระทั่งมีความสนิทสนมคุ้นเคยกัน เมื่อพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2544 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจึงได้ให้นายกษิต ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำกระทรวงเพื่อไปช่วยราชการที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อพบว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีการบริหารราชการที่แตกต่างจากที่ได้เคยหารือกันไว้ ได้สัมผัสกับวิธีคิดและวิธีทำงานของพ.ต.ท. ดร.ทักษิณ อย่างใกล้ชิด นายกษิต ภิรมย์ จึงเริ่มออกห่างจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และในเดือน พฤศจิกายน 2544 ได้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

หลังจากนั้น นายกษิต ภิรมย์ ขณะดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา ได้แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างชัดแจ้งกับรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กรณีจะนำเงินงบประมาณของประเทศจำนวนมากไปจ้างบริษัท Lobbyist ต่างชาติ ช่วยรณรงค์หาเสียงให้กับ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในการชิงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ โดยนายกษิตได้ส่งโทรสารคัดค้านมายังกระทรวงการต่างประเทศให้เหตุผลว่าเป็นที่รู้กันในเวทีระหว่างประเทศว่าโอกาสของ ดร.สุรเกียรติ เสถียรไทย แทบจะมองไม่เห็นทาง และประธานาธิบดีสหรัฐมีท่าทีชัดเจนที่จะไม่สนับสนุน ดร.สุรเกียรติ์

นายกษิต ได้ร่วมลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540[8]

วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:

ต่อมาภายหลังการเกษียณอายุราชการ นายกษิต ภิรมย์ ได้รับเชิญจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยให้เป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับพฤติการณ์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์อย่างเต็มตัว โดยเมื่อพรรคประชาธิปัตย์ดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลเงา ขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 นายกษิตได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคให้ทำหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีเงา ดูแลตรวจสอบการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงวัฒนธรรม[9][10] หลังจากการชุมนุมใหญ่ของพันธมิตรฯ นายกษิต ได้ขึ้นเวทีปราศรัยใบริเวณสนามหญ้าทำเนียบรัฐบาล และที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยโจมตีการทำงานของรัฐบาลพรรคพลังประชาชน

นายกษิต ภิรมย์ ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นับเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนที่ 43 ของไทย[7] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[11] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย

นายกษิต ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ[12] ในปี พ.ศ. 2558 โดยอยู่ในคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ทำหน้าที่รองประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง คนที่หนึ่ง รวมถึงเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทำเรื่องการสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

อีกทั้งยังทำหน้าที่ในคณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบอีกคณะหนึ่งด้วย

ใกล้เคียง

กษิต ภิรมย์ กษิต พลวัน กิตติ เชี่ยววงศ์กุล กิตตน์ก้อง ขำกฤษ กิตติรัตน์ ณ ระนอง กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ กิตติศักดิ์ เวชประสาร กิตติศักดิ์ ปรกติ กิตติ สิงหาปัด กิตติคุณ เชียรสงค์

แหล่งที่มา

WikiPedia: กษิต_ภิรมย์ http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokpost.com/breakingnews/138021/kas... http://www.bangkokpost.com/news/local/13784/abhisi... http://hilight.kapook.com/view/42247 http://www.nationmultimedia.com/search/read.php?ne... http://www.posttoday.com/lifestyle.php?id=30887 http://www.sereechai.com/demo/news.php?no=840 http://www.shadowdp.com/ http://www.thannews.th.com/detialNews.php?id=T0423... http://www.youtube.com/watch?v=_UCi-mgmIDs&feature...