กองทัพอากาศสหรัฐในประเทศไทย
กองทัพอากาศสหรัฐในประเทศไทย

กองทัพอากาศสหรัฐในประเทศไทย

กองทัพอากาศสหรัฐ ได้เข้ามาตั้งฐานทัพอากาศในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2504 ถึง 2518 ในช่วงสงครามเวียดนาม เพื่อใช้เป็นฐานปฏิบัติการโจมตีประเทศเวียดนามเหนือ มีการประมาณการว่าการทิ้งระเบิดกว่าร้อยละ 80 ต่อเวียดนามเหนือมาจากฐานทัพอากาศในประเทศไทย[1] จำนวนทหารอเมริกันภาคพื้นดินสูงสุดในปี พ.ศ. 2511 คือ 11,494 คน และทหารอากาศสูงสุดในปี พ.ศ. 2512 คือ 33,500 จำนวนเครื่องบินสหรัฐในปี พ.ศ. 2512 มีประมาณ 600 เครื่อง[2] นับว่าเป็นฐานปฏิบัติการทางทหารขนาดใหญ่มาก ใหญ่กว่าฐานสหรัฐในเวียดนามใต้เสียอีก จนมีการเปรียบเปรยว่าไทยกลายเป็น เรือบรรทุกเครื่องบินที่ไม่มีวันจม ของกองทัพสหรัฐ[3]สหรัฐเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยภายใต้ "ข้อตกลงสุภาพบุรุษ" (สัญญาปากเปล่า) ระหว่างไทยและสหรัฐ[1] [2] หน่วยทหารสหรัฐหน่วยแรกเดินทางจากฟิลิปปินส์มาถึงท่าอากาศยานดอนเมืองในเดือนเมษายน พ.ศ. 2501 ตามมาด้วยการลำเลียงวัสดุภัณฑ์และเครื่องจักรหนักจำนวนมากมายังอู่ตะเภาเพื่อนำไปใช้ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและฐานทัพอากาศในประเทศไทย ซึ่งในทางนิตินัยถือว่าฐานทัพเหล่านี้เป็นฐานทัพของไทย และมีผู้บังคับการฐานเป็นทหารไทย ด่านเข้าออกฐานทัพถูกควบคุมโดยสารวัตรทหารไทยโดยมีสารวัตรทหารอเมริกันเป็นผู้ช่วยถืออาวุธ แต่หน่วยทหารสหรัฐในไทยรับคำสั่งจากกองบัญชาการของสหรัฐ สหรัฐใช้ฐานทัพในไทย 7 แห่ง คือ ดอนเมือง โคราช นครพนม ตาคลี อู่ตะเภา อุบลราชธานี และอุดรธานีช่วยปลายสงครามเวียดนาม รัฐบาลสหรัฐถูกกดดันอย่างหนักจากชาวอเมริกันให้ถอนทหารออกจากเวียดนาม และเมื่อกรุงไซ่ง่อนถูกยึด ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลสหรัฐและรัฐบาลไทยก็ขุ่นมัว ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2518 รัฐบาลสหรัฐประกาศการถอนกำลังพลสหรัฐทั้งหมด (ทหาร 28,000 นาย และอากาศยาน 300 เครื่อง) ออกจากประเทศไทยภายใน 12 เดือน

กองทัพอากาศสหรัฐในประเทศไทย

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่เมษายน พ.ศ. 2504 – 2518
สถานที่ ประเทศไทย
ผลลัพธ์คืนพื้นที่ให้รัฐบาลไทยแล้ว
สถานที่ ประเทศไทย
ผลลัพธ์ คืนพื้นที่ให้รัฐบาลไทยแล้ว
วันที่ เมษายน พ.ศ. 2504 – 2518