ประวัติและความเป็นมา ของ กองทุนการออมแห่งชาติ

กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2554 ตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554[1] มีสถานะเป็นหน่วยงานของรัฐและมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการออมให้กับสมาชิกได้แก่ผู้ประกอบอาชีพอิสระซึ่งมิได้รับบำเหน็จบำนาญของรัฐรวมถึงเป็นหลักประกันบำนาญให้กับสมาชิก

ปี พ.ศ. 2558 กระทรวงการคลัง ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดกองทุนหรือระบบบำนาญอื่นที่สมาชิกไม่มีสิทธิสมัครเป็นสมาชิกของกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2558[2] กำหนดให้บุคคลที่มีสิทธิเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติต้องไม่เป็นสมาชิกกองทุนหรืออยู่ในระบบบำนาญอื่นของหน่วยงานรัฐ ทั้งหมด 24 หน่วยงาน

ในปีเดียวกันมีการออกพระราชบัญญัติการให้สิทธิแก่ผู้สมัครเป็นสมาชิกของกองทุนการออมแห่งชาติบางกรณีและการโอนเงินจากกองทุนประกันสังคมในกรณีชราภาพไปยังกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2558[3] โดยภายใน 1 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติมีผลใช้บังคับ หากในวันที่สมัครเป็นสมาชิกผู้สมัครผู้ใดมีอายุ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ให้ผู้นั้นมีสิทธิเป็นสมาชิกต่อไปได้อีก 10 ปีนับแต่วันที่สมัครเป็นสมาชิก และเมื่อเป็นสมาชิกครบ 10 หรือเมื่อสมาชิกซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปลาออกจากการเป็นสมาชิก ให้ถือว่าเป็นกรณีที่สมาชิกสิ้นสมาชิกภาพเพราะอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ ในส่วนของการกำหนดอัตราการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวง กำหนดอัตราการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบ พ.ศ. 2558[4] เมื่อวันที 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใกล้เคียง

กองทุนรวม กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กองทุนการเงินระหว่างประเทศ กองทุนการออมแห่งชาติ กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ กองทุนไตอเมริกัน กองทุนถาวรอะแลสกา กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนเพื่อการลงทุนสาธารณะ