แพลตฟอร์ม ของ กะโนม

จากเดิมที่ตั้งใจให้ทำงานได้กับ GNU ปัจจุบัน GNOME สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ได้เกือบทุกชนิด และถูกนำไปใช้เป็นฐานในการพัฒนา Java Desktop System ซึ่งเป็นส่วนติดต่อผู้ใช้ตัวใหม่ของระบบปฏิบัติการโซลาริสแทนระบบ Common Desktop Environment นอกจากนี้ GNOME ยังถูกเลือกให้เป็นระบบเดสก์ท็อปหลักของลินุกซ์หลายยี่ห้อ เช่น Fedora และ Ubuntu รายชื่อของลินุกซ์ที่ใช้ GNOME สามารถอ่านได้จากเว็บไซต์ของ GNOME[7]

GNOME ยังมีในแบบ LiveCD ซึ่งนำไปใช้บนคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องติดตั้ง มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้หน้าใหม่ได้สัมผัสกับ GNOME และทำความคุ้นเคยก่อนติดตั้งใช้งานจริง[8]

ส่วนประกอบทั้งหมดของ GNOME สามารถทำงานได้บน Cygwin ซึ่งช่วยให้โปรแกรมของ GNOME ทำงานบนระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์ได้