การวิเคราะห์ ของ กามัง

กามังเป็นคำที่คาดว่าใช้แก่ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นและอื่น ๆ ที่ถูกคุมขังอยู่ในค่ายกักกันของสหรัฐอเมริการะหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง[13] และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น[14] บางครั้ง คำว่า "กามัง" ถูกเข้าใจผิดไปว่าเป็นพฤติกรรมที่คิดถึงแต่ตัวเอง หรือขาดความแน่วแน่หรือขาดความริเริ่ม มากกว่าการแสดงความเข้มแข็งขณะเผชิญกับความทุกข์ยากหรือความเจ็บปวดทรมาน[15] กามังเป็นรูปแบบที่ไม่แสดงออกและมุ่งเน้นการอดทนและไม่ปริปากบ่นในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่ผู้คนจะร่วมกันบรรลุเป้าประสงค์ของพวกเขา[16]

หลังแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 ความสามารถในการกลับฟื้นคืน ความมีอารยะ การไร้ซึ่งเหตุจี้ปล้น และความสามารถของชาวญี่ปุ่นในการช่วยเหลือกันและกันถูกเชื่อมโยงกับจิตวิญญาณกามังอย่างกว้างขวาง[10] คนงานราว 50-70 คนซึ่งยังรั้งอยู่ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่งที่ได้รับความเสียหายและปลดปล่อยกัมมันตภาพรังสีออกมา แม้จะมีอันตรายร้ายแรงนั้น ถูกนับว่าเป็นกามังเช่นเดียวกัน[17]

แหล่งที่มา

WikiPedia: กามัง http://www.theaustralian.com.au/crushed-but-true-t... http://ottawa.ctv.ca/servlet/an/local/CTVNews/2011... http://www2.macleans.ca/2011/03/25/rising-from-the... http://accjjournal.com/mastering-the-basics/2/ http://www.business-standard.com/india/brv_storypa... http://www.csmonitor.com/Commentary/Editorial-Boar... http://www.freep.com/article/20110316/NEWS07/10316... http://janmstore.com/artofgaman.html http://www.news1130.com/news/world/article/198193-... http://www.ongo.com/v/578754/-1/C53E86DD863C0607/f...