ขั้นตอนของกระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง ของ การกล่อมเกลาทางการเมือง

พาย (Lucian Pye 1962, 44-48) กล่าวไว้ว่า กระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง มีลำดับขั้นตอนจำแนกได้ 4 ขั้น ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนแรก เป็นขั้นมูลฐานเริ่มแรกสุก เมื่อคนเกิดมาจะได้รับการอบรมเป็นช่วงตอนที่ทารกได้รับการฝึกฝนให้เป็นสมาชิกของสังคม ซึ่งเป็นตอนที่เด็กจะเกิดภาวะการเรียนรู้ เกิดทัศนคติ ค่านิยม ความชำนาญ ความสัมพันธ์กับบทบาทต่าง ๆ ของบุคคล ความรู้ทั่วไปและสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นซึ่งคนในสังคมนั้นจะต้องเรียนรู้ อันเรียกได้ว่าเป็นขั้นของการสร้างความโน้มเอียง (Orientation) ให้บุคคลเข้าสู่ความเป็นมนุษย์ โดยชี้ให้เห็นถึงแนวทางการเรียนรู้วิธีในการดำเนินชีวิตหรือการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม

ขั้นตอนที่สอง เป็นขั้นที่ก่อให้เกิดบุคลิกภาพต่อบุคคล อันเป็นประสบการณ์ต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อจิตใต้สำนึก ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดบุคลิกภาพมูลฐานของบุคคลนั้น ในขั้นตอนนี้ บุคคลจะมีความสำนึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม หรือที่เรียกว่ามีตัวตน (Identity)

ขั้นตอนที่สาม เป็นขั้นที่บุคคลได้รับการกล่อมเกลาทางการเมือง เป็นขั้นตอนที่บุคคลเริ่มมีความรู้สึก มีความสำนึก ถึงโลกทางการเมืองรอบ ๆ ตัวเขา และได้รู้ รวมทั้งมีทัศนะ กับเข้าใจถึงเหตุการณ์ความเป็นไปทางการเมืองต่าง ๆ ที่เรียกได้ว่าเกิดวัฒนธรรมทางการเมือง ผ่านตัวแทนการกล่อมเกลา (Political Socializing Agents)

ขั้นที่สี่ เป็นขั้นตอนที่บุคคลผ่านจากการเป็นสมาชิกของการเมืองที่ไม่ได้มีกิจกรรม (passive) มาเป็นผู้เข้าร่วมที่มีบทบาททางการเมือง ขั้นตอนนี้เรียกว่า การเลือกสรรทางการเมือง (Political Recriutment) โดยเป็นขั้นตอนที่บุคคลจะมีความเข้าใจต่อการเมืองอย่างลึกซึ้งและมีทัศนคติทางการเมือง หรือที่เรียกว่ามีบุคลิกภาพทางการเมืองอย่างชัดเจนและถาวรขึ้นกว่าเดิมคำแปลศัพท์คำนี้เป็นภาษาไทย มีความแตกต่างกันไปบ้างได้แก่ “กระบวนการสังคมประกิตทางการเมือง” “กระบวนการหล่อหลอมทางการเมือง” หรือ “กระบวนการเรียนรู้ทางการเมือง”

ใกล้เคียง

การกลืนลำบาก การกลับชาติมาเกิด การกลายพันธุ์ การกลับมาของอุลตร้าแมน การกลับมาของก็อดซิลลา การกลืนกลายทางวัฒนธรรม การกล้ำสัญญาณ การกลั่น การกล่อมเกลาทางการเมือง การกลายเป็นกระดูก