การกักกัน
การกักกัน

การกักกัน

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งการกักกัน (อังกฤษ: internment) คือ การจำขังหรือการกักประชาชน ซึ่งมักเป็นชนกลุ่มใหญ่ ให้อยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งเป็นการเฉพาะ[1] โดยไม่มีการพิจารณาในศาล พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด ฉบับตีพิมพ์ ค.ศ. 1989 ให้นิยามว่า: การกระทำ 'การกักกัน'; การกักขังภายในบริเวณของประเทศหรือสถานที่ การใช้คำนี้ในสมัยปัจจุบันหมายถึงการกระทำต่อบุคคล และมีการแยกความแตกต่างระหว่างการกักกัน ซึ่งมีเหตุผลเพื่อการป้องกันหรือเหตุผลทางการเมือง และการจำขัง (imprisonment) ที่เป็นโทษทางอาญาการกักกันยังหมายถึงการปฏิบัติของประเทศที่เป็นกลางในช่วงเวลาสงครามในการกักกันกองทัพของคู่สงครามและยุทโธปกรณ์ในดินแดนของตนภายใต้อนุสัญญาเฮก ค.ศ. 1899 และ 1907 (Hague Conventions)[2]อารยธรรมโบราณอย่างอัสซีเรียใช้วิธีการบังคับการโยกย้ายตั้งถิ่นฐาน (forced resettlement) ของประชากร ในการควบคุมดินแดน[3] แต่ไม่กระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 จึงมีหลักฐานการบังคับกักกันกลุ่มคนจำนวนมากในค่ายนักโทษ เช่น ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และสหราชอาณาจักรปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจำกัดการใช้การกักกัน โดยในมาตรา 9 ระบุว่า "บุคคลใดจะถูกจับ กักขัง หรือเนรเทศโดยพลการมิได้"

ใกล้เคียง