รูปแบบ ของ การกุเหตุความจำเสื่อม

การกุเหตุความจำเสื่อมโดยทั่วไปมีสองแบบคือ แบบเกิดขึ้นเอง (spontaneous) หรือแบบมีการชักนำ (provoked)

การกุเหตุความจำเสื่อมแบบเกิดขึ้นเอง (อังกฤษ: spontaneous confabulation) หรือ การกุเหตุความจำเสื่อมปฐมภูมิ (อังกฤษ: primary confabulation) ไม่ได้เกิดขึ้นตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น[8] และปรากฏเหมือนกับไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ[9] การกุแบบเกิดขึ้นเองค่อนข้างจะมีน้อยและอาจเป็นผลจากการทำงานร่วมกันของพยาธิในสมองกลีบหน้าและภาวะเสียความจำแบบ dissociative[10]และเกิดขึ้นบ่อยในคนไข้ภาวะสมองเสื่อม[11]

ส่วน การกุเหตุความจำเสื่อมแบบมีการชักนำ (อังกฤษ: provoked confabulation) หรือ การกุเหตุความจำเสื่อมแบบชั่วขณะ (อังกฤษ: momentary confabulation) หรือ การกุเหตุความจำเสื่อมทุติยภูมิ (อังกฤษ: secondary confabulation) เป็นเรื่องสามัญสำหรับคนไข้มีความจำเสื่อม และเกิดขึ้นบ่อย ๆ ทั้งในภาวะเสียความจำและทั้งในภาวะสมองเสื่อม[11] การกุแบบมีการชักนำจะปรากฏชัดเจนด้วยการทดสอบความจำ[8]

การจำแนกการกุเหตุความจำเสื่อมอีกอย่างหนึ่งก็คือแยกเป็นทางวจีกรรม (verbal) และทางกายกรรม (behavioral)การกุทางวจีกรรมเป็นการกล่าวคำโดยใช้ความจำที่ผิดพลาด และเกิดขึ้นบ่อยกว่าในขณะที่การกุทางกายกรรมเกิดขึ้นเมื่อบุคคลนั้นกระทำการโดยใช้ความจำที่ผิดพลาดนั้น[9]

ใกล้เคียง

การกุเหตุความจำเสื่อม การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98) การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 การบุกครองโปแลนด์ การคุมกำเนิด การสุขาภิบาล การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 การก่อการกำเริบ 8888 การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก