ทางถนน ของ การขนส่งในจังหวัดเชียงใหม่

แผนที่โครงข่ายเส้นทางหลักในจังหวัดเชียงใหม่

จังหวัดเชียงใหม่มีทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท และเส้นทางมาตรฐานหลายสาย ทำให้การเดินทางติดต่อภายในจังหวัด การเดินทางสู่จังหวัดใกล้เคียงและกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความสะดวก

สำหรับวิธีการเดินทางภายในตัวจังหวัด จะใช้การจราจรโดยรถส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์รวมทั้งจักรยาน สำหรับระบบมวลชนจะมี รถแดง ตุ๊กตุ๊ก รถเมล์ และประมาณ พ.ศ. 2550 เริ่มมีแท็กซี่มิเตอร์ในบริการในจังหวัดเชียงใหม่ โดยรถมีสีเหลือง-น้ำเงิน เป็นแท็กซี่สหกรณ์ ส่วนสีแดง-เหลืองเป็นแท็กซี่ส่วนบุคคล มีสถานีขนส่งภายในตัวจังหวัดเชื่อมต่ออำเภอต่าง ๆ คือ "สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 1" (สถานีขนส่งช้างเผือก) และสถานีขนส่งระหว่างจังหวัดคือ "สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 2" และ "สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 3" (สถานีขนส่งอาเขต)

ถนนระหว่างจังหวัด

การเดินทางจากกรุงเทพมหานครมายังจังหวัดเชียงใหม่โดยทางรถยนต์ เริ่มต้นจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ แล้วใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์) ผ่านจังหวัดลำปาง แยกซ้าย ผ่านจังหวัดลำพูน จนถึงจังหวัดเชียงใหม่

เส้นทางหลักเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงมีดังนี้

สำหรับจังหวัดตากไม่มีเส้นทางหลักเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างจังหวัด

ถนนระหว่างอำเภอ

การคมนาคมทางรถยนต์ภายในตัวจังหวัด ระหว่างอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ระยะทางระหว่างอำเภอที่ไกลที่สุดจากอำเภอเมืองคือ อำเภออมก๋อย ระยะทาง 179 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางราว 4 ชั่วโมง ส่วนอำเภอที่ใกล้ที่สุดคือ อำเภอสารภี 9 กิโลเมตร โดยระยะทางจากตัวจังหวัด (อำเภอเมืองเชียงใหม่) ไปยังอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ เรียงจากอำเภอใกล้ที่สุด ไปถึงไกลที่สุด[1] ดังนี้

ถนนในเมืองเชียงใหม่

แผนที่โครงข่ายถนนหลักบริเวณคูเมืองเชียงใหม่และชุมชนทางทิศตะวันออกการจราจรบนถนนสุเทพ อำเภอเมือง มองไปทางทิศตะวันตกซึ่งมีฉากหลังเป็นดอยสุเทพ

เส้นทางหลักสำหรับการคมนาคมในตัวเมืองเชียงใหม่ประกอบด้วย ถนนในเขตคูเมืองเก่า ส่วนใหญ่วางตัวในทิศเหนือ–ใต้ และทิศตะวันออก–ตะวันตก ตัดกันเป็นตาราง ถนนรอบคูเมือง มีทั้งฝั่งในและฝั่งนอก แต่ละฝั่งจะเดินรถทางเดียว และทั้งสองฝั่งเดินรถสวนทางกัน ถนนชุมชนนอกคูเมือง และถนนที่เชื่อมต่อกับชานเมืองและอำเภอใกล้เคียง การกระจายตัวของถนนในเขตเมืองเชียงใหม่มีแนวโน้มแผ่ขยายออกทุกทิศทาง ยกเว้นทิศตะวันตกซึ่งมีดอยสุเทพขวางไว้และยังเป็นเขตอุทยานแห่งชาติทำให้ไม่สามารถขยายชุมชนและถนนไปทางทิศดังกล่าวได้ ถนนหลักสำหรับการสัญจรภายในเมืองเชียงใหม่ อาทิเช่น

ถนนรอบและในคูเมือง
รอบคูเมือง
  • ถนนมณีนพรัตน์ (คูเมืองตอนเหนือด้านนอก)
  • ถนนศรีภูมิ (คูเมืองตอนเหนือด้านใน)
  • ถนนช่างหล่อ (คูเมืองตอนใต้ด้านนอก)
  • ถนนบำรุงบุรี (คูเมืองตอนใต้ด้านใน)
  • ถนนชัยภูมิ (คูเมืองตอนตะวันออกด้านนอก ส่วนเหนือ)
  • ถนนคชสาร (คูเมืองตอนตะวันออกด้านนอก ส่วนใต้)
  • ถนนมูลเมือง (คูเมืองตอนตะวันออกด้านใน)
  • ถนนบุญเรืองฤทธิ์ (คูเมืองตอนตะวันตกด้านนอก)
  • ถนนอารักษ์ (คูเมืองตอนตะวันตกด้านใน)

ในคูเมือง
  • ถนนจ่าบ้าน
  • ถนนพระปกเกล้า
  • ถนนราชดำเนิน
  • ถนนราชภาคินัย
  • ถนนราชมรรคา
  • ถนนราชวิถี
  • ถนนเวียงแก้ว
  • ถนนสามล้าน
  • ถนนสิงหราช
  • ถนนอินทวโรรส

ถนนนอกคูเมือง
แนวทิศเหนือ–ใต้แนวทิศเหนือ–ใต้
  • ถนนโพธาราม
  • ถนนเมืองสมุทร
  • ถนนรถไฟ
  • ถนนวังสิงห์คำ
  • ถนนศิริมังคลาจารย์
  • ถนนสุริยวงศ์
  • ถนนหัสดิเสวี
  • ถนนอัษฎาธร
  • ทางหลวงชนบท ชม. 4032 (บ้านป่าแดดเหนือ–ป่าแดดใต้)
แนวทิศตะวันออก–ตะวันตก
  • ถนนเจริญเมือง
  • ถนนช้างม่อย
  • ถนนท่าแพ
  • ถนนหมื่นด้ามพร้าคต
  • ถนนรัตนโกสินทร์
  • ถนนราษฎร์อุทิศ
  • ถนนลอยเคราะห์
  • ถนนวิชยานนท์
  • ถนนศรีดอนชัย
  • ถนนสนามกีฬา
  • ถนนสุเทพ
  • ถนนหายยา
  • ทล. 1366 (สถานีตำรวจช้างเผือก)
ถนนที่วางตัวในแนวอื่น/หลายแนว
  • ถนนแก้วนวรัฐ
  • ถนนนันทาราม
  • ถนนประชาสัมพันธ์
  • ถนนเมืองสาตร
  • ถนนห้วยแก้ว
  • ถนนศรีวิชัย

ถนนวงแหวน

ถนนหลักที่รองรับการคมนาคมระหว่างตัวเมืองเชียงใหม่กับเขตชานเมือง อำเภอใกล้เคียง และจังหวัดใกล้เคียง ประกอบด้วยถนนสายหลักที่นำไปยังเขตชานเมืองหรืออำเภอใกล้เคียง และถนนวงแหวนที่เชื่อมต่อถนนสายหลักข้างต้นเข้าด้วยกัน ซึ่งถนนวงแหวนมีจำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่

  1. วงแหวนรอบที่หนึ่ง ประกอบด้วยถนนสองสาย ได้แก่
  2. วงแหวนรอบที่สอง หรือวงแหวนรอบกลาง คือ ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี
  3. วงแหวนรอบที่สาม หรือวงแหวนรอบนอก คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 121 (วงแหวนรอบที่สาม, วงแหวนรอบนอก–คลองชลประทาน)

ส่วนถนนสายหลักระหว่างตัวเมืองเชียงใหม่กับอำเภออื่น ๆ และจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่

ใกล้เคียง

การขนส่งในประเทศไทย การขนส่งระบบรางในประเทศไทย การขนส่งในกัวลาลัมเปอร์ การขนส่งในประเทศเกาหลีใต้ การขนส่งระบบรางในประเทศอินโดนีเซีย การขนส่งสาธารณะในหุบเขากลัง การขนส่งในประเทศอินโดนีเซีย การขนส่งในประเทศฮังการี การขนส่งระบบรางในประเทศกัมพูชา การขนส่งระบบรางในประเทศญี่ปุ่น