การขับเคลื่อนแบบอัลคับเบียร์
การขับเคลื่อนแบบอัลคับเบียร์

การขับเคลื่อนแบบอัลคับเบียร์

การขับเคลื่อนแบบอัลคับเบียร์ (อังกฤษ : Alcubierre drive) หรือ อัลคับเบียร์เมตริก (Alcubierre metric) (หมายถึง เทนเซอร์เมตริก) เป็นแนวความคิดที่อยู่บนพื้นฐานการพิจารณาการแก้ปัญหาของสมการสนามของไอน์สไตน์ (Einstein's field equations) ในสัมพัทธภาพทั่วไปตามที่เสนอโดยนักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวเม็กซิกันชื่อ มิเกล อัลคับเบียร์ (Miguel Alcubierre), โดยที่ยานอวกาศสามารถบรรลุการเดินทางที่เร็วกว่าแสงได้ถ้ามวลที่มีค่าเป็นลบมีอยู่จริง แทนที่จะใช้การเคลื่อนที่เกินกว่าความเร็วของแสงภายในตำแหน่งที่ตั้งของกรอบอ้างอิงของมันเอง, ยานอวกาศจะตัดข้ามผ่านระยะทางโดยหดพื้นที่ด้านหน้าของมันและขยายพื้นที่ที่อยู่เบื้องหลังทำให้เกิดการเดินทางที่เร็วกว่าแสงอย่างมีประสิทธิภาพวัตถุไม่สามารถเร่งอัตราเร็วได้เท่ากับอัตราเร็วของแสงภายในกาล-อวกาศปกติได้; ดังนั้น การเคลื่อนที่แบบอัลคับเบียร์จึงใช้วิธีการขยับเลื่อนพื้นที่รอบ ๆ วัตถุเพื่อให้วัตถุสามารถเคลื่อนที่มาถึงจุดหมายปลายทางได้ด้วยอัตราการเคลื่อนที่ที่เร็วกว่าแสงเมื่อเทียบกับสภาพพื้นที่ที่ปกติได้แทน [1] แม้ว่าเมตริกที่เสนอโดยอัลคับเบียร์ จะถูกต้องในทางคณิตศาสตร์ในการที่จะมีความสอดคล้องกับสมการสนามของไอน์สไตน์, แต่ก็อาจจะไม่มีความหมายทางกายภาพหรือแสดงให้เห็นได้ว่าการขับเคลื่อนดังกล่าวจะสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ การนำเสนอกลไกของการขับเคลื่อนแบบอัลคับเบียร์ หมายถึงความหนาแน่นของพลังงานที่มีค่าเชิงลบและดังนั้นจึงต้องมีการใช้สสารประหลาด (exotic matter), ดังนั้นถ้าสสารประหลาดที่มีคุณสมบัติที่ถูกต้องไม่มีอยู่จริงแล้วก็ไม่สามารถที่จะสร้างการขับเคลื่อนแบบนี้ขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตาม, จากการเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดจากเอกสารงานวิจัยฉบับดั้งเดิมของเขา [2] ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ (จากข้อโต้แย้งที่พัฒนาขึ้นโดยนักฟิสิกส์ที่ได้มีการวิเคราะห์ทฤษฎีเกี่ยวกับรูหนอนทะลุได้ [3][4]) ว่า สูญญากาศแคสสิเมียร์ (Casimir vacuum) ระหว่างแผ่นเพลทคู่ขนานสองแผ่น สามารถตอบสนองต่อความต้องการพลังงานที่มีค่าเป็นลบสำหรับการขับเคลื่อนแบบอัลคับเบียร์ได้จริงหรือไม่ อีกเรื่องที่เป็นไปได้คือว่า แม้ว่าอัลคับเบียร์เมตริกจะมีความสอดคล้องกับสัมพัทธภาพทั่วไป, แต่สัมพัทธภาพทั่วไปก็ไม่ได้รวมเอากลศาสตร์ควอนตัมเข้าไว้ด้วย, และนักฟิสิกส์บางคนยังได้นำเสนอข้อโต้แย้งที่จะแสดงให้เห็นว่า ทฤษฎีโน้มถ่วงเชิงควอนตัมซึ่งรวมเอาสองทฤษฎีเข้าไว้ด้วยกันจะกำจัดการแก้ปัญหาที่อยู่ในสัมพัทธภาพทั่วไปซึ่งจะอนุญาตให้มีการเดินทางข้ามเวลาย้อนกลับไปในอดีตได้ (ดู การคาดคะเนการป้องกันของลำดับเหตุการณ์ (chronology protection conjecture)) ซึ่งการขับเคลื่อนแบบอัลคับเบียร์ก็เป็นหนึ่งในการแก้ปัญหานั้น

ใกล้เคียง

การขับเคลื่อนแบบอัลคับเบียร์ การขัดขืนการจับกุม การขับถ่าย การขัดกันแห่งผลประโยชน์ การขับเสภา การขัดเกลาทางสังคม การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การขัดกันด้วยอาวุธ การขับไล่ชาวโปแลนด์โดยนาซีเยอรมนี การขัดขืนอย่างสงบ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การขับเคลื่อนแบบอัลคับเบียร์ http://authors.library.caltech.edu/9262/1/MORprl88... http://www.npl.washington.edu/av/altvw81.html http://www.jsc.nasa.gov/roundup/online/2012/0712.p... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10038800 //arxiv.org/abs/gr-qc/0009013 //arxiv.org/abs/gr-qc/0207057 //arxiv.org/abs/gr-qc/0406083 //arxiv.org/abs/gr-qc/9707024 //doi.org/10.1088%2F0264-9381%2F11%2F5%2F001 //doi.org/10.1088%2F0264-9381%2F14%2F11%2F002