ตัวอย่าง ของ การค้นหาแบบทวิภาค

เกมเดาตัวเลข

นี่คือเกมพื้นฐานที่ใช้หลักการเดียวกันกับขั้นตอนวิธีนี้โดยเริ่มจากคำพูดว่า "ผมกำหนดจำนวนเต็มหนึ่งจำนวนที่มีค่าระหว่าง 40 ถึง 60 และเพื่อที่คุณจะเดาได้ ผมจะบอกว่า 'มากกว่า', 'น้อยกว่า' หรือ 'ใช่!' เมื่อคำตอบถูกต้อง" การค้นหาข้อมูลจำนวน "N" ข้อมูลที่เป็นไปได้ดังนั้นมากกว่า ⌊ log 2 ⁡ N ⌋ {\displaystyle \lfloor \log _{2}N\rfloor } คำถามที่ต้องถาม หรือกล่าวง่ายๆว่าเกมจะต้องกำหนดจำนวนคำถามมากกว่า ⌊ log 2 ⁡ N ⌋ {\displaystyle \lfloor \log _{2}N\rfloor } คำถาม เมื่อมีการถามแต่ละครั้งพื้นที่ในการค้นหาแต่ละครั้งก็จะถูกแบ่งครึ่งไปเรื่อยๆ ดังนั้นจำนวนการค้นหาจึงถูกบีบให้อยู่ในช่วงๆหนึ่งแม้ว่าจำนวนที่จะเดามีขนาดใหญ่ก็ตาม, ในกรณีที่ไม่มีขอบเขตบนก็จะสามารถค้นหาได้ที่ประสิทธิภาพ 2 ⌊ log 2 ⁡ k ⌋ + 1 {\displaystyle 2\lfloor \log _{2}k\rfloor +1} เริ่มด้วยหาขอบเขตบนโดยการเพิ่มค่าที่เดาซ้ำแล้วซ้ำอีก ตัวอย่างเช่น คำตอบคือ 11 โดยจะเดาเป็นแบบรูปดังนี้ 1(มากกว่า), 2(มากกว่า), 4(มากกว่า), 8(มากกว่า), 16(น้อยกว่า), 12(น้อยกว่า), 10(มากกว่า) และนี่เรารู้ว่าจำนวนนั้นคือ 11 เพราะเป็นจำนวนที่มากกว่า 10 และน้อยกว่า 12ถ้าลองใช้วิธีการนี้กับจำนวนเต็มลบและศูนย์บ้าง เช่น จะหา −13: 0, −1, −2, −4, −8, −16, −12, −14 ในที่สุดแล้วก็จะรู้ว่าเลขที่ต้องการคือ -13 เพราะเป็นเลขที่น้อยกว่า -12 และมากกว่า -14

รายการของคำ

ในการค้นหาทั่วไปมีการใช้การค้นหาแบบทวิภาคและการค้นหาแบบสอดแทรกโดยที่ไม่รู้ตัว เมื่อจะหารายชื่อของบุคคลในสมุดโทรศัพท์ เราต้องเริ่มด้วยการเดาจนเมื่อเรารู้ว่ารายการที่กำลังค้นหานั้นได้มีการเรียงลำดับแล้ว นั่นทำให้เราสามารถค้นหารายชื่อที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เช่น ถ้าจะหาชื่อ "สมชาย" แต่ถ้าเราเปิดไปเจอหน้าที่มีชื่อ "ศรราม" เราก็จะพลิกไปหน้าถัดๆไปที่เราคะเนไว้ว่าจะมีชื่อที่ต้องการ หากหน้าที่พริกไปนั่นมีชื่อ "องอาจ" ดังนั้นจะสรุปได้ว่ารายชื่อของ "สมชาย" ก็จะอยู่ระหว่างหน้าของ "ศรราม" กับ "องอาจ" ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวจะทำให้เราแบ่งปัญหาให้เป็นปัญหาย่อยได้


ใกล้เคียง

การค้าประเวณี การค้าประเวณีเด็ก การค้าประเวณีในประเทศไทย การค้นหาแบบทวิภาค การค้าเครื่องเทศ การค้นหาแบบเอสตาร์ การค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง การค้นหาในแนวกว้าง การค้าระหว่างประเทศ การค้นหาในแนวลึกแบบวนเพิ่มความลึก