คุณสมบัติ ของ การค้นหาในแนวลึกแบบวนเพิ่มความลึก

ประสิทธิภาพด้านพื้นที่ (Space complexity)

ประสิทธิภาพด้านพื้นที่ (Space complexity) ของการค้นหาเชิงลึกจำกัดแบบวนเพิ่มความลึก (IDDFS) เป็น : O ( b d ) {\displaystyle O(bd)} ซึ่ง b คือ ปัจจัยการแตกกิ่ง และ d คือ ความลึกของเป้าหมายที่ต้องการค้นหา ซึ่งการค้นหาเชิงลึกจำกัดแบบวนเพิ่มความลึก (IDDFS) นั้นอาจจะต้องค้นปมเดิมซ้ำๆหลายครั้ง ซึ่งอาจจะทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่ แต่ในความจริงแล้วมันก็ไม่ได้สิ้นเปลืองขนาดนั้น เนื่องจากปมต่างๆของต้นไม้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับล่างๆ ทำให้การค้นหาปมต่างๆในต้นไม้ที่อยู่ระดับบนหลายๆครั้งไม่มีผล

ประสิทธิภาพด้านเวลา (Time complexity)

ประสิทธิภาพด้านเวลา (Time complexity) ของ การค้นหาเชิงลึกจำกัดแบบวนเพิ่มความลึก (IDDFS) ในต้นไม้ที่มีความสมดุลจะมีค่าของประสิทธิภาพด้านเวลาเท่ากับการค้นหาตามแนวลึกเป็น : O ( b d ) {\displaystyle O(b^{d})} ซึ่งเป็นการค้นหาที่ใช้เวลานาน ในการวนค้นหาตามแนวความลึกนั้น ปมต่างๆในระดับหนึ่งจะมีการถูกค้น หนึ่งครั้ง และเมื่อเพิ่มระดับขึ้น ปมต่างๆที่ถูกค้นในระดับหนึ่งก็จะถูกค้นเพิ่มอีกครั้งหนึ่ง ขึ้นอยู่กับปมรากของต้นไม้ค้นหา ซึ่งปมรากของต้นไม้ค้นหานั้นจะถูกค้น d+1 ครั้ง ดังนั้น ผลรวมของจำนวนการค้นปมต่างๆในการวนค้นหาเชิงความลึกนั้นจะเป็น

"---------------------------------รูปเปรียบเทียบการค้นหา--------------------------- ( d + 1 ) 1 + ( d ) b + ( d − 1 ) b 2 + ⋯ + 3 b d − 2 + 2 b d − 1 + b d {\displaystyle (d+1)1+(d)b+(d-1)b^{2}+\cdots +3b^{d-2}+2b^{d-1}+b^{d}} ∑ i = 0 d ( d + 1 − i ) b i {\displaystyle \sum _{i=0}^{d}(d+1-i)b^{i}}

ถ้ากำหนดให้ b = 10 และ d = 5 จะได้6 + 50 + 400 + 3,000 + 20,000 + 100,000 = 123,456

ส่วนแบบการค้นหาตามแนวลึก จะมีผลรวมของการค้นปมต่างๆเป็น

1 + b + b 2 + ⋯ + b d − 2 + b d − 1 + b d {\displaystyle 1+b+b^{2}+\cdots +b^{d-2}+b^{d-1}+b^{d}}

ถ้ากำหนดให้ b = 10 และ d = 5 จะได้1 + 10 + 100 + 1,000 + …. + 100,000 = 111,111

จากทั้งหมดข้างต้นนั้น การวนค้นหาตามแนวลึก ที่เริ่มจากความลึก 1 ไปถึง ความลึก d จะมีการค้นปมของปมต่างๆ มากกว่าแบบการค้นหาตามแนวกว้าง หรือการค้นแบบจำกัดความลึก ประมาณ 11% ที่ความลึก d และ b = 10 โดยหากปัจจัยในการแตกกิ่งมีค่าสูงจะทำให้ การซ้ำกันของการค้นปมของสถานะที่อยู่ในระดับบนจะมีค่าต่ำแม้ว่าปัจจัยในการแตกกิ่งจะมีค่าเป็น 2 หรือ มากกว่า แต่ การค้นหาเชิงลึกจำกัดแบบวนเพิ่มความลึกจะทำการค้นหา 2 ครั้ง โดยต้องยังคงสภาพ การค้นหาตามแนวกว้างที่สมบูรณ์ หมายความได้ว่าประสิทธิภาพของเวลาการทำงานของการค้นหาเชิงลึกจำกัดแบบวนเพิ่มความลึกยังมีค่า O(bd) และประสิทธิภาพด้านพื้นที่ยังคงเป็น O(bd) เช่นเดิม .โดยทั่วไปแล้ว การค้นหาเชิงลึกจำกัดแบบวนเพิ่มความลึกจะเป็นวิธีการค้นหาที่ดีกว่าแบบอื่นๆ เมื่อจำนวนพื้นที่ที่ต้องค้นหามีขนาดใหญ่ และ ไม่ทราบความลึกของคำตอบเป้าหมายที่ต้องการ



การได้คำตอบที่เหมาะสม (Optimality)

การได้คำตอบที่เหมาะสม (Optimality) คำตอบที่ได้จากการค้นหาแบบ การค้นหาเชิงลึกจำกัดแบบวนเพิ่มความลึก (IDDFS) จะเหมาะสมก็ต่อเมื่อเส้นทาง (edge) ที่ใช้ผ่านแต่ละปมที่ต้องการค้นหาในต้นไม้ค้นหามีน้ำหนักเท่ากัน คือ 1ถ้าน้ำหนักของเส้นทาง (edge) การเดินทางของแต่ละปมมีค่าต่างกันที่ไม่ใช่ 1 จะทำให้คำตอบที่มาจากการค้นหาไม่เหมาะสม

ความสมบูรณ์ (Completeness)

การได้คำตอบหรือการใช้ขั้นตอนวิธีการค้นหาเชิงลึกจำกัดแบบวนเพิ่มความลึกนั้นจะมีความสมบูรณ์เหมือนกับ การค้นเชิงแนวกว้าง ซึ่งความสมบูรณ์นั้นอยู่ภายใต้ปัจจัยที่ว่า ค่าปัจจัยในการแตกกิ่ง (b) ต้องมีขอบเขตจำกัด (finite) ซึ่งถ้าปัจจัยต่างๆเหมาะสมแล้วขั้นตอนวิธีการค้นหาเชิงลึกจำกัดแบบวนเพิ่มความลึก จะใช้เวลาดีและทำงานได้เร็วกว่าขั้นตอนวิธีการค้นเชิงลึก และ การค้นเชิงแนวกว้าง

ใกล้เคียง

การค้าประเวณี การค้าประเวณีเด็ก การค้าประเวณีในประเทศไทย การค้นหาแบบทวิภาค การค้าเครื่องเทศ การค้นหาแบบเอสตาร์ การค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง การค้นหาในแนวกว้าง การค้าระหว่างประเทศ การค้นหาในแนวลึกแบบวนเพิ่มความลึก